นิยายเที่ยวสิงคโปร์ : Chapter 13_Day2: ช้างเผือก...ต่างแดน (ซิงกะโปโล : Singapolo)


หลังจากตามหาช้างในตำนานพบ และอินไปเรียบร้อยจน แทนจะหาโจง กระแบน มาใส่ ผมก็จำเป็นต้องแบนหน้าสู่เป้าหมายใหม่เสียที... บ้านไกล เวลาน้อย
ตามแผมจะต้องไปเยือน “Old Supreme Court Building” เป็นอาคารศาลฏีกายุคโคโลเนียลช่วงสุดท้ายในสิงคโปร์ ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1939ในรูปนั้นเป็นอาคารแบบยุโรปที่สวยงามมากๆ เลยครับ เป็นอาคารทึบทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้า มีเสาแบบโครินเธียน (Corinthian หรือเรียกมั่วๆ ว่าเสากรีกละกัน)  ด้านหน้า เป็นจั่วสามเหลี่ยมที่ภาย ในมีรูปสลักเทพองค์หนึ่งนั่ง บนบัลลังก์  มือขาถือตราช่าง มือซ้ายถือดาบ รอบๆข้างเป็นเหมือนคนทำลำร้องทุกข์อยู่ สมกับการเป็นศาลจริงๆ  เหนือขึ้นไปตรงกลางด้านหลังของจั่วเป็น โดมสีเขียวสูงสะ ดุด ตา  น่าเกรงขาม ถือเป็นอาคารสุดวิจิตรอีกแห่งหนึ่งบนเกาะนี้ก็ว่าได้  โดยให้ เครดิตผลงานถึง 2 คน คือจอร์จ โคลแมน ที่ออกแบบด้านหน้าอาคาร ส่วนการตกแต่ง และวาดภาพ จิตรกรรมภายในเป็นหน้าที่ คาวาเลียรี โรโครโฟ นอลลี่ ชาวอิตาลี
            เนื่องจากได้มีการสร้างศาลแห่งใหม่ อาคารศาลหลังนี้เปลี่ยนหน้า ที่เป็น หอศิลป์แห่งชาติ จัดแสดงงานศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ มีห้องแสดง ประวัติ ของ อาคารหลังนี้นอกจากนั้นชั้นดาดฟ้ายังเปิดเป็นสวนสำหรับชมทิวทัศน์ที่แสนเกร๋อีก
ด้วย... อาคารนี้จึงน่าสนใจควรค่าการไปเยือนสักครั้ง
            ว่าแล้วก็ดูในแผนที่ ดูในแอ๊ป แล้วก็เอ๊ะ... ว่ามันอยู่ตรงไหน  ตามข้อมูล จากรูปปั้นช้าง มองออกไปก็น่าจะเจอสนามปาดัง....นั่นไง สนามกว้างๆ แล้วทาง ซ้ายก็คือ...ศาล  นั่นไง เจอแล้ว  ชัดเลย... โดมสูง จั่วอาคารมีเทพถือตราช่าง
            “ปิดปรับปรุงเหมือนกัน”
            ล้อมรั่วซะมิดชิด อืม...อดอีกที่.... ไหนๆ ลองเปิดไกด์บุ๊คซิ บรรยายเสียดิบดี
ทำไมถึงยังก่อสร้างอยู่  ไล่เรียงคำบรรยายสถานที่ และมาก็เจอที่บรรทัดสุดท้าย
            (เปิดบริการปี 2014)
           
            เงิ่บ....!!!

            ขณะนี้เวลา 6 โมงครับ!! ตาแผนผมต้องยังเดินเตร็ดเตร่อยู่ใน  The Art House แต่ตอนนี้เท่ากับว่าเป้าหมายเย็นของผม ลุล่วงเร็วกว่ากำหนด เป็นข้อดีในการเดินชมวิว ตามใจนะครับ...
            จากรูปปั้นช้าง ผมลองเลี้ยวซ้ายไปมั่วๆ เดินตามถนนไปเรื่อยๆ เพื่อชมเมือง ครับ ถนนแถวนี้ผมว่าเหมือนอารมณ์สนามหลวงนะครับ เป็นย่านเมืองเก่า สนามปาดัง (สนามหน้าใหญ่ๆ) ก็เหมือนสนามหลวง แถมตรงด้านหนึ่งก็มีศาลตั้งอยู่เหมือนกันอีก... เดินชมไปเรื่อยๆ ทางก็บังคับให้เลี้ยวซ้าย แล้วก็เจออาคารหลังใหญ่หนาๆ ดูมีสง่า ตรง กลางมีโดมสี่เหลี่ยมสีแดงเป็นประมุข ผมลองเดินเลียบรั้วดูความสวยงามรอบๆ จนมา ถึงประตูทางเข้าอาคาร ที่มีป้อมยามแข็งขัน แถมรั้วกันขึงขันอีก พอผมจะเดินเข้าไป ใกล้ประตู เจ้าหน้าที่สาวผู้รักษาความปลอดภัย ก็ส่งสัญญาณให้เดินออกไปไกลๆ หน่อย และให้อ้อมไปอีกทาง แม้จะไม่รู้ว่าที่นี่คืออะไร แต่รู้แน่ๆ ว่าต้องเป็นที่สำคัญมากๆ ชัวร์
และมารู้ทีหลังว่า อาคารนี้คือ “รัฐสภาหลังใหม่” ที่สร้างในปี .ศ. 1999 มิน่า ล่ะสวนเชียว (แต่ก็ดุ เข้าตาราสวยแต่ดุ!!!)
แล้วทางก็บังคับผมให้มากลับมาที่ทางเดินเรียบแม่น้ำสิงคโปร์อีกครั้ง... ผลคือ ผมเดินอ้อมครับ... ตรงหน้าสุดทางเดินไกลๆ นั้นเป็น ACM และสะพาน“คาเวนาห์” (Cavenagh Bride) นั่นเอง  แต่ก็ไม่ได้แย่ไปเสียทีเดียว เพราะเป้าหมายต่อไปของผม ก็ต้องเดินตรงไปทางนั้นอยู่แล้ว

เป็นการเดินทางแบบต้มย้ำกุ้ง คือหาช้างในตำนานอีกเชือกหนึ่ง... ตามบันทึก ต่างๆ เล่าว่าช้างหล่อสำริดรัชกาลที่ 5 ที่ส่งมอบให้สิงคโปร์นั้นมี 2 เชือก... ที่ตั้งอยู่บน แท่นนั้นมีเพียง 1 แล้วอีก 1 ล่ะ อยู่ที่ไหน!?!  เป็นคำถามที่ไม่รู้จะไปถามใครนะ ครับ แต่หลังจากที่เดินมาพักใหญ่จนเหงื่อเริ่มซึมๆ ผมก็เจอเป้าหมายครับ  บนแท่นตรงหน้า นั้นแหละ คือช้างต่างแดนที่ผมตามหา
และเป็นช้างเผือกเสียด้วย!!!

            ท่ามกลางลานกว้าง ( ที่ตอนนี้มีเหมือนลานเบียร์มาเปิดอยู่ตรงนี้) มีรูปหล่อ บุคคล สำคัญของสิงค์โปรตั้งอยู่ ถ้าเป็นในแบบคนไทย รูปหล่อนี้จะอยู่ยนแท่นขึงขัง หลายชั้นสูงขึ้นไปจนเหนือหัว เอื้อมไม่ถึงไม่ถึงจนได้แต่มองรอบ จะมีเชือกมีโซ่กั้น กัน เข้าใกล้ แต่สิ่งที่ตรงหน้ากลับตรงข้ามสิ้นเชิง แม้แท่นสีขาวนี้จะสูงไปสักหน่อย แต่สูงไม่ เท่าไหร่ ก็เจอ "ท่านเซอร์ ราฟเฟิล" ยืนกอดอก พักเท้าข้างหนึ่งอยู่บนนั้น ดูขนาดใหญ่ กว่าตัวจริงเล็กน้อย. รอบข้างไม่มีอะไรกั้น เราสามารเดินเข้าไปแตะ รูป หรือแทบจะปีน ขึ้นไปยืนคู่กับท่านบนแท่นได้เลย( โดนตำรวจจับไหมเนี่ย)
            ลานแห่งนี้จะถึงว่า Raffel pleace ... เป็นลานกว้างหลัง ACM เรียบแม่น้ำ สิงค์โปร์ ตรงข้ามกับโบ๊ทคีย์ เขาว่ากันว่าจุดนี้แหละ คือสถานที่ที่ท่านเซอร์ขึ้นจากเรือ และเหยียบ แผ่นดินสิงคโปร์ตรงบริเวณนี้เป็นที่แรก นี่
            คือช้างเผือก
ต่างแดน อีกเชือกหนึ่ง  ที่ผม ตามหาครับ!! ที่บอกว่าช้างเผือก ก็มีหลายประเด็นครับ
            อันดับแรกเพราะท่านได้ชื่อว่าเป็น "พ่อ" ผู้ทำคลอดสิงคโปร์ให้เกิดขึ้น จึงขอยก ให้เป็นช้าง และในเมื่อท่านเซอร์มีความ สำคัญขนาดนี้ และเป็นฝรั่งผิวขาวด้วย ก็ขอยก ศักดิ์ให้ท่านเป็น "ช้างเผือก" เสียเลย ก็แล้วกัน
            ตามประวัติศาสตร์อันยาวนานของสิงค์โปร์ จากแผ่นดินที่ปกครองโดยชาว พื้น ถิ่นอารมณ์ระบบสุลตาล แต่เปลี่ยนผู้ปกครองในยุคล่าอาณานิคมหลายแผ่นดิน ตั้งแต่ โปตุเกส  ฮอลันดา และล่าสุดอังกฤษ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถวบ้านเราที่ต่างเป็นเมืองขึ้น ก็ออกแนวไม่ถูกชะตากับปีะเทศผู้ปกครองด้วยกันทั้งนั้น แถมยังจะคอยขับไล่หรือลบประวัติศาสตร์ช่วงนั้นออกไปให้พ้นๆ แต่ทำไม สิงค์โปร์จะดู เหมือนยกย่องอังกฤษ และถึงขั้นยกท่านเซอร์ให้เป็นบิดาของแผ่นดิน ชื่อของท่านถูกตั้ง เป็นอาคาร ถนน สถารนที่ต่างๆ มากมาย แถมยังมีอนุสาวรีย์ผู้ที่ลาสอาณานิคม ตั้งเด่น สง่าอยู่กลางเมืองอีก!!! นี่แหละครับ ถึงเป็นสาเหตุที่ผมต้องมาเจอ ท่านเซอร์ สักครั้ง แต่จะเล่าเรื่องราวที่เสาะหามาได้ให้ทุกท่านได้ฟัง
            กาลครั้งหนึ่ง มิช้ามินานมินี้... ( ภาพตัดไปอดีต)
            สิงคโปร์เป็นดินแดนปลายสุดของแหลมมาลายู ซึ่งตามประวัติศาสตร์ ก็ตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรมัชปาหิต อาณาจักรสยาม อาณา จักรมะละกา (ย้อนนานไปมะ?!?) จากบันทึกของนักเดินเรือค้าขายชาวจีนใน ศตวรรษที่ 3   ได้บันทึกสิงคโปร์ ไว้ในชื่อ "pu lao chung" (ดินแดนปลายสุด) โดยอธิบายความว่า เป็นดินแดนที่ชาวจีนใล้เป็นท่าเรือทางการค้า แต่กระนั้นก็ชุกชุม ไปด้วยโจรสลัด ที่ดัก ปล้นเช่นกัน. ส่วนตำนานของฝั่งมาลายูก็เล่าว่าเดิมที บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านชาวประมง เล็กๆ  ที่ชื่อ "เทมาเส็ก" (เราคงคุ้นชื่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่นี้ดีนะครับ) ครั้นเมื่อเจ้าชาย ปรเมศวร แห่งอาณาจักรศรีวิชัย มีเหตุ( บ้างก็ว่าถูกเนรเทศเพราะขัดแย้งภายใน บ้างก็ ว่า ต้องการสร้างอาณาจักรของตนเองใหม่) ให้ต้องล่องเรือเร่มาดินแดนแถบนี้จบมาพบ ดินแดนสิงคโปร์ และทันทีที่เหยียบแผ่นดิน "สิงโต" ตัวหนึ่งก็ยืนจังก้าปะทะ ต้อนรับท่าน  อยู่ ท่านเลยตั้งชื่อแผ่นดินใหม่นี้ว่า "สิงคปะรุ" ( Singapora) ซึ่งแปลว่า เมืองสิงโตตรงตัว แล้วท่านก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นปกครอง ดินแดนนี้ด้วยการ สนับสนุนของชาวพื้นถิ่น (แม้จะปกครองได้สั้นๆ ก็ตาม) จากนั้นสิงคปุระก็มีตัวตนอยู่ ในแผนที่โลกอย่างชัดเจน ในยุคที่การค้าทางทะเลเริ่มรุ่งเรือง นักเดินเรือต่างรู้จักและนิยมใช้ สิงคปุระ เป็นท่าเรือ แหล่งค้า จนในที่สุดก็ป๊อปติดตลาด
            ในปี ..1819 (สมัยร.2) อังกฤษเริ่มแพร่อิทธิพลสู่คาบสมุทร มาลายูและช่อง แคบมะละกาเพราะมองว่าแถบนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการควบคุมการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย แต่ตั้นนั้นฮอลันดาควบคุมการเดินเรืออยู่ในแถบนี้อยู่ อังกฤษเลยไม่รอช้า วันที่ 21 มกราคมปีนั้นเอง ในนามของบริษัทอินเดียตะวันออก( British East India Company) แต่งตั้ง "ท่านเซอร์โธมัส สแตมฟดร์ด แรฟเฟลส์ ( Sir Thomas Stamford Raffles) ข้าหลวงอังกฤษที่ดูแลเมืองเบนคูเลนบนเกาะสุมาตรา ให้หาแหล่งตั้งสถานี การค้าท่าเรือในละแวกนี้ ท่านเซอร์เดิน ทาง จากปีนังมาถึงปากแม่น้ำสิงคโปร์ เมื่อขึ้นฝั่ง สำรวจ ก็พบว่าสภาพภูมิศาสตร์ และธรรมชาติเหมาะสมมาก รวมทั้งสามารถใช้เป็น แหล่งสำรองน้ำอู่ซ่อมเรือสินค้าต่างๆ  ละที่สำคัญอยู่ใกล้ช่องแคบมะละกามากๆ (คล้ายทำเลทองคอนโดติดรถไฟฟ้าแบบ นั้น) จึงตกลงเลือกสิงคโปร์ เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ ของอังกฤษเสียเลย 

            ประวัติศาสตร์ได้เริ่มขึ้นตรงนี้แหละครับ แต่เรื่องราวกลับไม่ง่ายแบบนั้น
            ขณะนั้นสิงคปุระมีประชากรแค่ร้อยกว่าคน และอยู่ภายใต้การปกครองของ สุลต่านรัฐยะโฮร์ (ซึ่งอยู่ใต้ปกครองฮอลันดาอีกที) การพยายามขอเช่าเกาะทำการค้า ของท่านเซอร์ไม่ไปเป็นผล ทว่ามีเรื่องดราม่าเกิดขึ้นตามสไตล์แย่งชิงราชบัลลังก์ เมื่อ ขณะนั้นฮอลันดาเองได้สนับสนุนให้เจ้าชายอับดุล ราห์มาน มูอัซซัม ซาห์  (Abdul Rahman Muazzam Shah) (โอรสองค์ที่2 ของสุลต่าน มาห์มุดแห่งยะโฮร์) ให้ขึ้นครอง ราชย์แทนพ่อที่เพิ่สิ้นพระชนม์ แทนที่จะเป็นเจ้าชายฮุสเซน  ซาห์ (Hussein Shah) เจ้าราชรัชทายาทอันดับ1 เพียงแค่ซึ่งขณะนั้นเจ้าชายไม่ได้อยู่ในราชสำนัก เมื่อเหตุ การณ์เป็นแบบนี้ เจ้าชายฮุสเซนจึงลี้ภัยมาอยู่ที่เกาะเรียว เตรียมการต่อสู้กับน้องชาย  จุดเปลี่ยนอยู่ที่ หัวหน้าหมู่บ้านบนเกาะสิงคปุระ อับดุล ราห์มาน (Abdul Rahman) ผู้ซึ่งจงรักภักดีกับเจ้าชายฮุสเซนอยู่ (เช่นเดียวกับชาวบ้าน) จึงกระซิบท่านเซอร์และนัด หมายให้ท่านได้เจอกับเจ้าชาย  การเจรจานำมาซึ่งข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย อังกฤษจะ ช่วยเหลือและรับรองให้เจ้าชายฮุสเซน ซาห์ได้กลับขึ้นครองราชน์โดยชอบธรรม โดย เจ้าชายจะยอมให้อังกฤษตั้งสถานีการค้าได้ และอังกฤษก็ยินยอมจ่ายผลประโยชน์ ให้กับรัฐยะโฮร์ปีละ 5,000 ดอลล่าร์สเปน โดยสัญญานี้มีการเซ็นกันอย่างถูกต้อง ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1819
แล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนที่วางไว้
            ท่านเซอร์แรฟเฟิลส์กลับไปดูแลเมืองเบนคูเลนต่อไป และมอบหมายให้
วิลเลียม ฟาร์คูฮาร์​( William Farquhar) ดูแลเกาะสิงคปุระต่อไปภายใต้นโยบาย ที่ท่านเซอร์มอบไว้ให้กว้างๆ แต่หลักๆ คือทำ กำไรให้อังกฤษได้เยอะๆ  ตลอดเวลาเกือบ 4 ปีที่วิลเลียมรับตำแหน่งก็แทบ ไม่ได้ติดต่อกับท่านเซอร์เลย เพราะการสื่อสารไม่เอื้อ อำนวย แม้ว่าวิลเลี่ยม จะทำสำเร็จในแง่รายได้ และทำให้หมู่บ้านเล็กๆ กลายเป็นเมือง ท่าที่อู้ฟู่  จากประชากรร้อยกว่า ก็กลายเป็น 5,000 คน แต่วิธีในการได้เงินมานั้น ทำให้ สิงคปุระเละเทะพอควร ตั้งแต่ประกาศให้เป็น ท่าเรือ ปลอดภาษี  เปิดการค้าเสรีไม่มีการ แทรกแซงของรัฐ ให้ใบอนุญาตตั้งบ่อนการพนันเสรี สามารถค้าฝิ่นค้าทาสได้อิสระเต็มที่     
เมื่อท่านเซอร์กลับมาสิงคปุระอีกครั้งในปี ค.ศ. 1822  ก็ถึงขั้นช็อคเพราะเขา ไม่ได้อยาก ให้สิงคโปร์เจริญไปในทิศทางนี้ หลังจากมีข้อขัดแย้งกัน วิลเลียม ก็เด้งจาก ตำแหน่งกลับบ้านไป จอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) ก็มารับตำแหน่งแทน และ เป็นจุดเริ่มเมกะโปรเจคบูรณะสิงคโปร์จากเมืองหนองน้ำ ที่มีซากฐานแนวกำแพง เมืองร้างให้กลายเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบ เริ่มต้นด้วยการวางผัง เมืองใหม่แบบ อังกฤษ ที่เป็นระเบียบ มีความสวยงามได้มาตรฐาน ยุโรปในยุคคริสต์ ศตวรรษที่ 19-20 (คุณยังจำผังเมืองแจ็คสันที่เล่าไป แล้วได้ไหมครับ) ตัดถนน สร้าง อาคาร แบบยุโรป ปรับปรุงท่าเรือให้กว้างขวางทันสมัย ตั้งกองกำลังตำรวจเพื่อ ป้องกัน โจรสลัด ออกกฏหมายห้ามค้าทาสเด็ดขาด มีตั้งคณะกรรมการเมือง และเกิดอาคาร สาธารณะ หลักๆ ขึ้น เช่นศาล รัฐสภา ศุลกากร โบสถ์ 
นอกจากนี้ยังมี การสร้างระบบ การศึกษาขึ้น เช่น มีนโยบายการศึกษาระดับ ประถม แก่ปรชากรพื้นเมือง ตั้งสถาบัน สิงคโปร์ (Singapore Institue ซึ่งต่อมาคือ สถาบันแรฟเฟิลส์ Raffles Institute) เพื่อให้การศึกษา ชั้นประถมแก่ชนพื้นเมืองระดับสูง และเป็นแหล่งผลิต บุคลากรแก่ บริษัท ตะวันตกต่อไป มีการก่อตั้งโรงเรียน โดยมิชชัน นารีที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอน และเป็นหนึ่งในที่มาของโรงเรียนสตรีเก่าแก่ ที่สุดของสิงคโปร์ คือ โรงเรียนเซนต์มากาเร็ต (St.Magaret’s) มีการให้เงินอุดหนุน โรงเรียนอังกฤษ-ทมิฬ ที่เป็นสถานศึกษา ของชาว อินเดียอพยพ และมีการตั้งโรงเรียนจีน ซึ่ง ใช้หลักสูตรสมัยใหม่และ ใช้ภาษาจีนกลางในการสอน

อ๋อ ลืมเล่า!!!  ระหว่างที่ท่านเซอร์ได้พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นเมืองในฝัน เหตุการณ์ เข้าข้างอังกฤษ เมื่อรัฐยะโฮร์เริ่มเสื่อมอำนาจลง และสุลต่านสิ้น พระชนม์ อังกฤษ ก็ ประกาศไม่ยอมรับทายาท และไม่สนับสนุนใคร ให้ขึ้นครองราชน์ ต่อไป และแล้ว สิงคโปร์ ก็ตกอยู่ในปกครองของอังกฤษแบบเบ็ดเสร็จ
ในสมัยรัชกาลที่4  หรือช่วงเวลาประมาณ 40 ปี สิงคโปร์มีพลเมือง 82,000 คน กลับกลายเป็นเมืองใหญ่ที่คึกคัก มีรายได้จากการค้าถึงปีละ 13 ล้านปอนด์ (ซึ่งปีนังมี ราย ได้แค่ปีละ 4 ล้านปอนด์) และผู้ว่าราชการสิงคโปร์ที่อังกฤษส่งมาปกครอง ก็ดำเนินนโยบาย ตา มรอยของท่านเซอร์อย่างเคร่งครัดทำให้บ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นไปอีก


            ตัดภาพมาปัจจุบัน 12 ตุลาคม พ.ศ.2546 ผมแหงนมองดูท่านเซอร์ตรงหน้า

            ดูเหมือนว่าสิงคโปร์ได้ติดหนี้บุญคุณของท่านเซอร์ไว้อย่างชดเชยอย่างไรก็ไม่หมด ท่านเซอร์เป็นคนเลือกทำให้เกิดประเทศนี้ขึ้น กำหนดชีวิตให้ชาวสิงคโปร์ สร้างความ มั่งคั่ง ให้กับชาวเมืองมาจนถึงปัจจุบัน และอังกฤษเจ้าของอาณานิคม ก็ปฏิบัติต่อ สิงคโปร์ ต่างไปจากจากประเทศใต้ปกครองของตน ไม่ตักตวงกอบโกยทรัพยากร แต่กลับสร้างรากฐานที่ดีให้สิงคโปร์เจริญเติบโตได้
            ถูกแล้ว ที่รูปปั้นของท่านเซอร์จะตั้งเป็นเกียรติอยู่ตรงนี้
            ช้างเผือกต่างแดน บนแผ่นดินสิงโต




ติดตามตอนต่อไป Chapter 15 Day 02 เร็วๆ นี้


อ่านตอนเก่า


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)