นิยายเที่ยวสิงคโปร์ : Chapter 9 _Day2: คน...ต้นเรื่อง (ซิงกะโปโล : Singapolo)



 ดีที่พกร่มมาด้วย... (ภูมิในความรอบคอบ) แต่ว่าเป้าหมายต่อไป Peranakan Musuem (พิพิธภัณฑ์เปอรานากัน) อยู่ไม่ไกลนัก แล้วผมก็ดูเหมือนจะ ไม่หนักมากถ้า วิ่งไปก็น่าจะไม่เปียกมาก เลยตัดสินใจวิ่งไปเลยครับ ที่ไหนได้ฝนเม็ดเป๊ง ตกลงมาบนหัวดังปุก… เลยรีบวิ่งเข้าไปหลบอาคารข้าง ซึ่งก็บังเอิญเป็นสถานทีสำคัญ “หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์”
            ตั้งใจว่าที่นี่น่าจะมีอะไรให้เดินดูได้บ้างแก้ขัดตอนหลบฝน เปิดพ้นประตูเข้าไปข้างในบรรยากาศดูโบราณเหมือนสถานที่ราชการบ้านเราเลยครับ เค้าเตอร์ด้านหน้าไม่มีเจ้าหน้าที่  ไม่เป็นไร ด้านขวามีเหมือนนิทรรศการเล็กๆ มีหนังสือ ต่างๆ  แสดงร่วมกับประวัติศาตร์อะไรสักอย่าง ซึ่งด้วยอ่านเร็วๆ แล้วงงๆ ครับ (ข้อมูล ค่อน ข้างหนักอึ้งด้วย) เลยขอบายตรงนั้นไป เดินย้อนกลับมาแล้วส่อง เข้าไปข้าง ใน เห็นเป็นห้องคอมพิวเตอร์ครับ ซึ่งไม่ขอก้าวล่วง แต่พอก้าวขึ้นบันได ไปชั้นบนครับ (ซึ่งไม่รู้ว่าขึ้นไปได้หรือเปล่าด้วยนะ…แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ ถือว่าไม่ผิด) ซึ่งพบว่าชั้น 2 เหมือนเป็นห้องประชุมอะไรสักอย่างที่ปิดอยู่ และชั้น 3 เป็นโรงละคร (ที่ปิดอยู่เช่นกัน)  ในตอนแรกคิดว่าการขึ้นมาชมชั้นบนจะไม่มีใครรู้ครับ…แต่ขอโทษตรงบันไดนี่กล้องวิดีโออย่างเยอะ จับไว้ทุกมุม… ซวยแล้วไหมล่ะ  เลยตัดสินใจแสดงความบริสุทธิ์ด้วยการวิ่งออกจากตัวอาคารโดยเร็ว (โคตรมีพิรุธที่สุด)
           
            "ร่มเลิ่มไม่กางแล้ว…ตัดใจวิ่งแปลบเดียวถึง Peranakan Musuem (พิพิธภัณฑ์ เปอรานากัน) เลย"

            แค่ผลักประตูเข้าไป ทุกอย่างก็สงบเงียบเล่นเอาผมเกร็งทีเดียว จะปัดน้ำที่ผม ที่เสื้อก็ต้องค่อยๆ ทำเพราะกลังพื้นเขาเปียกและกลัวไปทำลายความสงบของเขาหมด… ห้องโถงใหญ่ต้อนรับผู้มาเยือนอยู่ มีบันไดเวียนขวาขึ้นไปเรื่อยๆ จะถึงชั้น 4 ทำให้ตรง กลางโถงสูงขึ้นไปจนถึงหลังคาตึกที่ใช้กระเบื้องกึ่งโปร่งโสง ทำให้แสงธรรมชาติอ่อนๆ
ส่องลงมาในตัวอาคาร
           
            พอตั้งสติหลุดออกจากมนตร์ขลังได้ ก็เหยือบมองหาใครสักคนที่จะถาม เพราะเท่าที่มองด้วยสายตา ที่นี่กว้างใหญ่มากและมีถึง 4 ชั้น แบ่งเป็นตั้ง 10 แกลอรี่  เลยขอใครสักคนปรึกษาจนในเว็บไซท์บอกว่ามีไกด์พาทัวร์ฟรีด้วย  แต่พอถามก็จับใจ ความได้ว่า รอบต่อไปที่จะพาทัวร์คืออีก 15 นาที  เลยขอบาย เดินดูแบบเองน่า จะถูกใจ มากกว่า (เอาแต่ใจตามสไตล์ลูกคนเล็กอีกแล้ว)  ว่าแล้วก็ฉวยโบร์ชัวร์และเอกสารที่ทุกอย่างที่อยู่ที่เค้าท์เตอร์ แล้วเริ่มเดินเอง…
            แล้วการเดินทางก็เริ่มตามการคาดเดา… 

            -แกลอรี่ 1: Origins
            “ฉันคือใคร” ห้องแรกนี้เหมือนห้องสรุปของพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดครับ และเป็น ห้องที่ใช้อินโทรด้วย ที่โดดเด่นคือผนังทั้งห้องเป็นภาพโคสอัพใบหน้าคนที่ใหญ่มากใต้ภาพระบุและข้อความสั้นๆ บรรยาความรู้สึกที่เขามีต่อความเป็น “ปารานากัน” ของพวกเขาเอง… ยกตัวอย่างภาพน้อง Ryan Choo” ชาวฮกเกี้ยนปารานากัน บอกว่า “ผมชอบกินขนมหวานของปารานากันและ Kueh Kueh (เค้กชนิดหนึ่ง) จังเลย ผมว่าการนำเสนอแบบนี้ฉลาด และได้อารมณ์มากๆ เพราะปกติแล้วพิพิธภัณฑ์ที่เรา ประวัติศาสตร์มากเริ่มเรื่องด้วยประวัติศาตร์อันไกลโพ้น แต่ที่นี่เริ่มต้นด้วยปัจจุบัน ผ่านคนที่ยังมีชีวิตอยู่
           
            ในห้องนี้ยังมีห้องใหญ่ อีก 4 ชิ้นที่สะท้อนความเป็นชาวปารานากันไว้

            ถ้าถามว่าปารานากันคือใคร การตอบแบบชี้ชัดดูจะยากไปสำหรับผม เพราะ เท่าที่คุยกับเจ้าหน้าที่เขาก็ยังบอกว่า “ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เลย”  แต่จากการ สรุปในห้องนี้ชาวปารานากันก็คือ “ลูกหลานจีนที่เป็นลูกครึ่ง” นั่นแหละครับ ก็แน่นอนว่าอดีตแถวนี้คนพื้นถิ่นก็เป็นคนมาเลย์ คนอินเดีย พอคนจีนเข้ามาทำงาน ตั้งรกราก ก็มีการแต่งงานกับคนพื้นที่เดิมที่  คนปารานากันจึงเกิดขึ้น เริ่มต้นจากคน เจนเนเรชั่นนี้แหละครับ เป็นสิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นในโลกก็ว่าได้ ซึ่งก็ตรงกับความหมาย ของคำว่าปารากันตามภาษามาเลย์ แปลว่า “เกิดที่นี่” (Born Of)
            ที่บอกว่าชาวปารานากันเป็นใครกันแน่และยังถกเถียงกันอยู่เพราะหาคำจำกัดความยากจริงๆ เพราะชาวปารานากันมีหลายเชื้อสาย ที่มีจากการแต่งงานของชาวจีนและคนพื้นถิ่นนั่นเอง  ชาวปารานากันก็มีการกำหนดสายตามชาติกำเนิดและพื้นที่กันเองอีก เช่น ฮกเกี้ยน ปารานากัน, ไชนิส ยูราเชียน ปารานากัน, มะละกา-ปีนัง ปารานากัน  ฯลฯ เห็นชื่อคนเดาไม่ยากว่าใครมาจากสายไหน 
ความน่าอัศจรรย์ของชาวปารานากันคือ พวกเขามีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ของชาวปารานากันก็จะแตกต่างจากคนในพื้นที่เดิมครับ เพราะพวกเขาเอาวัฒนธรรมจีนผสมกับมาเลย์ อินเดีย ฝรั่ง ผสมกันอีกที ทำให้เกิด Lift Style รูปแบบใหม่ที่โดดเด้งมากๆ ประกอบกับชาวปารานา กันก็มีอาชีพค้า ขายเก่ง (อันเป็นพื้นฐานของชาวจีน ที่เมื่อไปที่ไหนก็ตั้งตัวได้) บวกกับชาวปารานากันพูด ได้หลายภาษามากๆ จึงทำให้ค้าขายได้ไปทั่ว ฐานะจึงร่ำรวย

            ชาวปารานากันจริงๆ แล้วก็อาศัยอยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และภูเก็ต ด้วย นะครับ แต่ที่นี่จะฉายภาพชาวปารานากันบนเกาะสิงคโปร์ และเฉพาะไปกว่านั้นเพราะ ข้าวของกว่า 1,200 ชิ้นที่จัดแสดงอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นของชาวปารานากันจีน เนื้อหาก็ เลยแอนเอียงไปทางนั้นเสียหน่อย (ซึ่งจริงๆ ชาวปารานากันก็ยังแบ่งได้อีกหลายชื่อ เช่น Paranakan Indians ที่เกิดจากชาวอินเดียแต่งงานกับชาวมาเลย์ เป็นต้น)

                  แกลอรี่ 2-5 : Wedding
            การแต่งงานของคนปารานากันเหมือนไม่ใช่แค่เรื่องสมัครรักใครของหนุ่มสาว  เท่านั้น เพราะงานแต่งของทั้งคู่มีขั้นตอน พิธีการขั้นตอนเยอะมาก และญาติผู้ใหญ่ ของ ทั้งสองครอบครัวล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องและให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดเลย แค่เริ่ม ต้นก็ซี๊ดแล้วครับเพราะผู้ใหญ่ของจะเอาดวงชะตาของทั้งสองคนไปทำนายก่อนแต่ง  (ซึ่งผมแนะนำว่าหนุ่มสาวควรติดสินบนหมอดูนะครับ ผลจะได้ออกมาแบบไม่ ซากอ้อย)
           
            นอกจากจะจัดแสดงเครื่องแต่งกายเครื่องประดับที่สวยมากๆ ในการแต่งงาน ของชาวปารานากันแล้ว ที่ชอบมากๆ คือเขาจำลองขบวน พิธีแต่งงาน มาไว้ที่นี่แล้วครับ โดยทำเป็นขบวนจริง เอาหุ่นตัวเข้าคนจริง แต่งกายจริงอุปกรณ์จริง มาจัดแสดงเลย ในห้องก็จะมีเสียงบรรยากาศท้องถนน และเราสามารถเดิน ซอกแซกไปใน ขบวนเพื่อไป ดูหุ่นแบบใกล้ๆ ได้ด้วย ซึ่งขบวนนี้กำลังเดินตามท้องถนนไปยังบ้านของเจ้าสาว ตอน แรกของขบวนเป็นคนถือโถมที่เขียนคำว่า “ความสุขล้นเหลือ”  ตรงกลางเป็นบ่าวสาว ที่แต่งตัวเหมือนขุนนางจีน ข้างๆ ก็มีเด็กหญิงชายแต่งตัวคล้ายบ่าวสาวเดินขนาบด้วย ท้ายขบวนเหมือนมีผู้หญิงอยู่ 2-
3 คน ตอนแรกเดาว่าเป็นญาติๆ แต่ไหนได้ไม่ใช่ครับ สาวๆ พวกนี้เรียกว่า “นางอวย” คือทำหน้าที่พูดชมเชยคู่บ่าวสาวไปตลอดทาง “เข้ากันแบบนั้น” “สมกันอย่างงี้”…เอ่อว่ะ ขำดี!!!


            แกลอรี่ 6 : Nonya
            หญิงสาวปารานากัน หรือ Nonya ก็คล้ายมีค่านิยมความ เป็นแม่บ้าน แม่เรือนเหมือนเราๆ นี่แหละครับ โดยจะได้รับการฝึกให้เป็นกุลสตรีตั้งแต่เด็กๆ เพื่อ เตรียมเป็น แม่ศรีเรือนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องเย็บปักถักร้อย ไม่ต้องพูดถึงครับไม่เป็นรองใคร ยืนยันได้จากผ้าคลุมโต๊ะขนาดใหญ่ (กะด้วยสายตาน่าจะขนาดใหญ่กว่า 1x1 เมตร) ซึ่งเว่อร์วังตรงที่ผ้าทั้งผืนถูกปักด้วยลูกปัดเม็ดเล็กๆ หลายล้านเม็ด ลูกปัดแต่ละ เม็ดทำหน้าที่เหมือนเม็ดฟิคเซลในไฟล์ภาพกราฟฟิคเลยครับ ประกอบกันออกมาเป็นภาพดงดอกไม้ที่มีนกและผีเสื้อบินอยู่เต็มไปหมด  ซึ่งก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่างานฝีมือที่แสดงความอดทนของหญิงปารานากันที่เป็นเอกลักษณ์คืองานปักลูกปัดนั่นเอง... แต่ก็ ไม่ได้หมายความว่าสาวทุกคนจะทำเป็นหรอกนะครับ(เหมือนกันสาวไทยนั่นแหละครับ ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะปอกมะปรางริ้วได้อย่างแม่พลอย)

            งานปักลูกปัดเหล่านี้สามารถพบเห็นได้เยอะครับไล่ไปตั้งแต่ รองเท้า กระเป๋า สตางค์ กระเป๋าสะพาย ซองใส่บุหรี ซองใส่แว่นตา เรียกว่ามีอะไรที่สามารถปักได้นางก็ จะปักหมด ซึ่งข้างของจุ๊กจิ๊กเหล่านี้ก็เกี่ยวกับแกลอรี่แต่งงานนั่นแหละครับ เพราะของ บางชิ้นจะถูกทำขึ้นเพื่อมอบให้กับแม่ของฝ่ายชายนั่นเอง
            แม้สาวปารานากันจะมีบทบาทเป็นแม่บ้านที่ควบคุมทุกอย่างในบ้าน แต่สาวร่ำรวยปารานากันก็ต้องนำสมัย เปลี่ยนแปลงไปตามยุคด้วยเหมือนกัน การเปลี่ยนแปลงบทบาทสถานะนี้เล่าสั้นง่ายได้ใจความตามยุคสมัย 3 ช่วงเวลา ด้วยโทรศัพท์ 3 เครื่อง ที่บอกยุคสมัยต่างกัน ข้างๆ ก็วางภาพถ่ายต่างยุคสมัยจากกรอบไม้ กรอบเหล็ก และกรอบพลาสติก  โทรศัพท์นั้นก็ไม่ได้ วางไว้ทำเก๋อย่างเดียว  ถ้ายกหูฟังก็จะมีเสียงผู้หญิงเล่าเรื่องชีวิตของนางในแต่วันอีกด้วย  ซึ่งแน่นอนโทรศัพท์ต่างเครื่องก็ต่างยุคกันออกไป
           
แกลอรี่ 7 : ศาสนา
อย่างที่เล่านะครับว่าชาวปารานากันเป็นลูกหลานจีนที่มีความหลากหลาย ดังนั้นในเรื่องความเชื่อและศาสนาก็มาจากพื้นของชาวจีนที่นับถือ พุทธ เต๋า การนับถือ บรรพบุรุษ รวมทั้งเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติด้วย  ในแกลอรี่นี้ก็เลย แสดงสิ่งที่ ชาวปารานากันนัยถือไว้หลายแบบครับ ตั้งแต่รูปปั้น “ฮก ลก ซิ่ง” ที่เราคุ้นเคยกัน  เครื่องลางของขวัญที่น่ายมพกติดตัว แท่บบูชาแบบจีนพร้อม แผ่นป้ายอักษรที่เรามัก เห็นกันในหนังจีนกำลังภาพใน       
เนื่องจากชาวปารานากันเป็นคนร่ำรวย หัวสมัย คุ้นเคยกับฝรั่งเพราะทำการค้าอยู่ด้วยกัน บวกกับลูกหลานชาวปารานากันจีนนี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกชื่นชอบกีฬาแบบยุโรป ใช้ชีวิตแบบผู้ดีอัวกฤษและยอมเข้ารับการเป็นคนในปกครอง ของพระราชินีแห่งอังกฤษด้วย จึงไม่แปลกที่ชาวปารานากันส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนมานับถือ คริสต์คาทอลิค ซึ่งเมื่อบ้านใดเปลี่ยนศาสนาก็มักทำลายสัญลักษณ์ของศาสนาเดิมทิ้งไปแล้วไฮไลท์ด้วยสัญลักษณ์ของสิ่งที่นับถือใหม่แน่นอนครับมีสิ่งหนึ่งหลุดรอดการทำลายนั้นมาได้​
หิ้งบูชาไม้”
หิ้งนี้สลักเสลาอย่างสวยงาม เป็นทั้งลวดลายมังกรและหงษ์อันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของจีนที่รอดพ้นการถูกทำลายไปได้ ซึ่งแท่นนี้เดิมใช้สำหรับประกอบ พิธีทางพุทธ ซึ่งเมื่อเจ้าของบ้านเปลี่ยนศาสนา ภาพด้านหลังของหิ้งก็ถูกเปลี่ยนเป็นภาพพระเยซูแทน 


            ลัดเลาะมาถึงมุมสุดท้าของแกลอรี่นี่คับ ทุกอย่างดูเหมือนสงบเงียบเพราะเป็น โซนงานศพ… เริ่มต้นขนหัวลุกด้วยการแสดงเสื้อผ้าสำหรับไว้ทุกข์และใช้ในพิธีศพไว้มากมาย ผมก็ขอดูไวไวไปเร็วๆ นะครับ ไม่ค่อยถูกจริตเท่าไหร่…บรึ๋ย  รีบออกจากโซนเสื้อผ้าไปห้องต่อไป…แต่เอ๊ะ จู่ๆ มีป้ายเขียนเตือน
            “Visitors – Please Note
            The subject of death will be featured in the next section. Parental guidance is advised”
            “ผู้เข้าชม - โปรดทราบ
            ส่วนแสดงข้างหน้าจะจัดแสดงเรื่องความตายนะจ๊ะ พ่อแม่ควรให้คำแนะนำ”

            เป็นคำเตือนที่หลอนมากครับ... ซึ่งก็อย่างที่เล่า ผมไม่ได้เดินชมตามรอบทัวร์ ผมเลยเป็นผู้ชมคนเดียวของชั้นนั้น จากป้ายที่โหดสัสนี้เอง ทำให้ผมตัดสินใจค่อยๆ ชะโงหน้าเข้าไปในมุมหลืบหลังป้าย ภาพตรงหน้าชวนขนลุกครับ
            มีโรงศพ พร้อมภาพผู้ตายตั้งอยู่... กว่าจะตั้งสติได้ปาเข้าไป 10 วิ...! และที่ร้ายคือส่วนจัดแสดงนี้อยู่ในหลืบทางตันครับต้องเดินเข้าซอยไปเท่านั้นถึงจะอ่านรายละเอียดได้ชัดๆ ซึ่งต้องขอบใจทางพิพิธภัฑณ์อยู่ตรวหน้าโรงศพป้ายหนึ่ง และต้องมองออก
มาจากด้านในอีกป้ายหนึ่ง ซึ่งนั่นเท่ากับว่าถ้าแกอยากจะรู้รายละเอียด จงทำใจกล้า ก้าวเข้ามาซะ
            แม้จะรู้ว่าเป็นดีสเพลย์ก็เถอะ แต่มันเหมือนซะจนอดขนลุกไม่ได้ ผมกลั้นใจ เดินเข้าไปอ่านป้ายใกล้ๆ เท่านั้นแหละครับความหลอนระลอก 2 ก็มาเยือน.. จู่ๆ แม่งก็มีเสียงคนร้องให้โหยหวนดังขึ้นมา ให้อารมณ์เหมือนเข้าไปอยู่ในงานศพที่มีลูกหลาน
คร่ำครวญอยู่ วันหลังถ้าจะทำซะสมจริงแบบนี้เตรียมกระโถนไว้เลยนะครับ เผื่อฉี่ราดจะได้ปล่อยมันซะตรงนั้น

แกลอรี่ 8 : Public Life
(ต้องยอมรับว่าต้องปรับฟิลนิดนึง เพื่อเข้าสู่แกลอรี่นี้ ขวัญเอ๋ย...ขวัญมา)
ส่วนนี้เป็นกำแพงด้านหนึ่งของทางเดินที่สะท้อน“ภาพลักษณ์” ของชาวปารานากันกลุ่มหนึ่งที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทในเรื่องการค้า การเมือง การกุศล และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของสิงคโปร์ เรียกได้ว่า “บาบ๋า”ปารานากันนั้นเป็น “คุณชายจีน” เต็มตัวก็ว่าได้เพราะใช้ชีวิตและมีรสนิยมแบบคนอังกฤษเจ้าอาณา นิคมเด๊ะๆ  อ่านนิยมเชคสเปียร์ จิบชา เล่นกอล์ฟ ตีโปโล อารมณ์คล้ายชายพจน์ของปริศนาเทือกนั้น และยังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของ “ย่าหยา” สตรีชาวปารานากันที่ภายหลังเธอเป็นกลุ่มที่ได้รับการศึกษาในแบบตะวันตกทำให้เธอกลายเป็นกลุ่มคนที่มีอาชีพและโดดเด่นทางสังคม เช่น “Lee Choo Neo” แพทย์หญิงคนแรกของสิงคโปร์, “Lee Choon Guan” ผู้หญิงคนแรกที่ได้ใบขับขี่ของสิงคโปร์ หรือ “Lim Beng Hong” ก็ถือเป็นนักกฏหมายหญิงคนแรกของเอเชีย


แกลอรี่ 9 : Food & Feasting
แอบงงๆ ว่าทำไมเอาเรื่องอาหารการกินมาไว้เกือบสุดท้าย  ดูอย่างสยามพารากอนสิยังเอาศูนย์อาหารจ่อไว้ชั้น 1 ตั้งแต่ทางเข้าเลย (เกี่ยวมะ...!)
ชาวปารานากันเป็นคนที่ “มีอันจะกิน” และ “กินอย่างอลังการ” โดยแสดงผ่านห้องจำลองการจัดเลี้ยงที่มีเอกลักษณะเฉพาะ และสะท้อน ผ่าน เครื่องเรือนและภาชนะดินเผาเคลือบดินเผาที่เรียกว่า “Tok Panjang”
            เจ้า “Tok Panjang” อะไรนี่เป็นอะไรที่เว่อร์วังครับ ทั้งรูปทรงที่แปลกตา การวาดลายที่ละเอียดยิบ บางชิ้นมีการลงเส้นทองด้วย และชอบมากๆ เพราะเขาจะใช้สี ออกพลาส เทลหน่อย ดูหวานๆ สบายตาดี  ภาชนะที่จัดแสดงเป็นของจริงและของ เก่าทั้งหมดครับ ซึ่งแน่นอนผมว่าราคาในอดีตน่าจะแพงเอาการ แล้วคิดดูสิครับว่าคนที่ใช้เครื่องเรือนแสนแพงแบบยกเซ็ทในชีวิตจริง (ไม่ได้ซื้อมาตั้งโชว์เก๋ๆ) ก็มีแต่เศรษฐีเท่านั้นแหละครับ ถึงได้บอกไงว่าชาวปารานากันนี่ “มีอันจะกิน”        

แกลอรี่ 10 : Conversations
หาโซนนี้ไม่เจอครับ...! แต่เท่าที่ทราบว่าที่นี่จะมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนบ่อยๆ และเห็นว่าชั้น 4 มีส่วนเล็กๆ ที่ปิดทึบอยู่ ซึ่งก็เดาว่าเป็นส่วนนั้น

หลังจากเดินเล่น 4 ชั้นแบบฉายเดี่ยว เหมือนเดินคนเดียวทั้งพิพิธภัณฑ์แล้ว ก็ขอเดินชื่นชมกับตัวอาคารต่อครับ ซึ่งสวยคลาสสิคมาก ผนังทุกด้านของที่นี่จะทาสีเทาอ่อนๆ ไว้ครับ ตัดกับเสาทรงยุโรปและลูกทรงซี่บันไดที่เป็นสีขาว ซึ่งตัดกับพื้นไม้ขัดมันสีดำสนิทอีกทีประกอบกับการคุมแสงโดยมีแสงหลักส่องจากหลังคาด้านบนเป็นแสงหลักของพิพิธภัณฑ์ และเน้นเป็นจุดๆ ด้วยสปอตไลท์ ทำให้รู้สึกดีสบาย และแสงสวยเหมาะสำหรับการถ่ายรูปมากๆ   ว่าแล้วก็ตั้งกล้องกับเก้าอี้ ราวบันใด ถ่ายรูป Self Portraitsแบบตั้งเวลา วิ่งไปวิ่งมาไปทั่วแบบไม่เกรงใจที่ รปภ.ที่มองด้วยความสงสัย
แหม...ก็มาคนเดียวนี่ครับ

เดิมทีอาคารพิพิธภัณฑ์เคยเป็นโรงเรียนเทานาน (Tao Nan) มาก่อนครับ...(อ๋อมิน่าถึงทาสีเทา) ซึ่งก่อตั้งโดยสมาคมจีนฮกเกี้ยน เมื่อปี ค.ศ. 1906 เพื่อสืบทอด วัฒนธรรมและมรดกของจีน ต่อมามีคหบดีชาวปารานากันบริจาคเงิน 10,000 ดอลล่าห์ สิงคโปร์เพื่อใช้ในกิจการโรงเรียน เงินดังกล่าวได้นำมาซื้อที่ดินถนนอาร์มาเนียน และก่อ สร้างอาคารสร้างโรงเรียนเมื่อปี 1910 (จั่วอาคารปรากฏตัวเลขนี้ด้วย) สถาปัตยกรรม นีโอคลาสสิค ประดับประดาอาคารสไตล์เรอเนสซองซ์ฝรั่งเศสและสร้างเสร็จในปี 1912 ช่วงปี 1942-1945 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียนถูกปิดไป เมื่อสงครามสิ้นสุด จึงกลับมาเปิดอีกครั้ง จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 นักเรียนจำนวนน้อยลง เนื่องจาก ประชากรย้ายไปอยู่นอกเมืองตามนโยบายรัฐ โรงเรียนจึงย้ายไปเปิดวิทยาเขตใหม่อยู่นอกเมือง ตั้งแต่ปี 1982 

จากที่เคยเป็นเขตนอกเมืองแต่ทุกวันนี้อาคารโรงเรียนเทานานตั้งอยู่ในย่านการค้าไปซะแล้ว จึงได้ดัดแปลงอาคารใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ Asian Civilization เมื่อปี 1997 – 2004 ก่อนจะย้ายเป็นสถานที่ในปัจจุบัน (ตอนบ่ายนี้เราจะไปกัน) ส่วนอาคารก็ถูกปรับ ปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ปารานากัน และเปิดให้เข้าขมในเดือน เมษายน 2008 จนถึงปัจจุบัน

            ตามแผนผมต้องออกจากที่นี่เวลาประมาณ 12.10 ครับ  แต่พอดูเวลา... อ่าว 12.40 แล้ว...ทำเวลาได้เหลวแหลกมาก ว่าแล้วก็ต้องจำใจจากที่นี่ไป  แต่ก่อนจากอยาก ได้ภาพคู่กับ Backdrop สักภาพ หลังจากพยายามทำท่าเงาะงะแล้ว เจ้าหน้าที่ชาย แก่ก็เข้ามาช่วย หลังจากคุยเรื่องมุมกล้องกับแกและสอนวิธีกด ก็ได้ภาพสวยงามดั่งใจ... และต้องยอมรับว่า อีกจุดเด่นของที่นี่ เจ้าหน้าที่มีหัวทางการถ่ายภาพ
           
            แทบไม่น่าเชื่อในเรื่องราวคนปารานากันเหมือนกันนะครับ จากตอนต้นที่ดูเหมือนเป็นประชากรที่ แปลกแยกของสังคม แค่พวกเขากลับสร้างตัวตนของตัวเองขึ้นมาได้จนเป็นเอกลักษณ์ ยืนหยัดและถีบตัวเองจนกลายเป็นกลุ่มคนตัวท็อปผู้สร้างการ
เปลี่ยนแปลงต่อประวัติศาสตร์หลายๆ ด้านของสิงคโปร์ได้  บางทีอาจจะถูกที่มีคนกล่าว ว่า “คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เราเลือกที่จะเป็นได้” และเราก็เห็นนะครับว่าทางการ สิงคโปร์เองก็ให้ความสำคัญของคนเชื้อสายปารานากัน มองความต่างนี้เป็นความโดด
เด่นสร้างเรื่องราวสร้างสเน่ห์ให้กับประเทศนี้ได้อีก
           
            หรือนี่คืออีหหนึ่งข้อพิสูจน์ที่ว่า สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับคน อย่างที่สุด!!!

            ข้างนอกฝนหยุดแล้ว


ความคิดเห็น

  1. ชอบการเดินทางในทริปนี้มากเลยค่ะ ภาพสวยบรรยายสนุกด้วยยเราชอบทริปแบบนี้มาก พอจะบอกทริปวันที่3 ได้ไหมคะว่าไปไหนบ้าง จะแอบไปตามรอยยอาทิตย์หน้าาา

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ คุณ Mata ^^ นึกว่าจะไม่มีคนตามอ่านซะแล้ว / ไป SG grand Sale หรอครับ!? ขอให้สนุกนะครับ /
      ใช้ emailไหมครับ ขอ Email หน่อยครับ/ ผมส่งทริปไปให้ทาง mail ดีไหมครับ / เดี๋ยวแชร์ให้ทั้ง 4 วันเลยครับ เผื่อจะแวะไปอันไหน

      ลบ
  2. ^^ ไม่ได้ไป Grand Sale หรอกค่ะ อยากไปชมบ้านชมเมืองเค้าน่ะคะ ไม่เน้นชอป(บ่มีตังค์) เพิ่งรู้จากคุณ morraget นะเนี่ยยว่ามีแกรนด์เซล (สงสัยต้องแอบไปดู) E-mail : mata.puang@gmail.com ขอบคุณมากเลยนะคะ เย้^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่งให้เรียบร้อยแล้วนะครับ
      จาก morraget@hotmail.com ครับ

      หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ ^^

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)