นิยายเที่ยวสิงคโปร์ : Chapter 8 _Day2: ความคิด...สแตมป์ (ซิงกะโปโล : Singapolo)

      

    วันนี้ตั้งใจจะทำทุกอย่างให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ครับ จะต้องเก็บทุกที่ให้ หมดตามตั้งใจให้ได้ ซึ่งConcept ของวันนี้คือ  
The Depp เจาะลึกรากเหง้าสิงคโปร์ด้วยการเยือนพิพิธภัณฑ์ต่างๆ”

เริ่มเติมท้องที่ “Kotipiem” ด้วยอาหารญี่ปุ่น “Janaese Seafood Soup with rice” (ซุปทะเลญี่ปุ่น +ข้าว) ราคา S$ 5 : 125 บาท และตบท้ายด้วยกาแฟจาก 7-11  Pokka Premium Cappuccino” 1 ขวด S$ 2.10 : 52.5 บาท, กาแฟก็กลมกล่อม ดีนะครับ แต่ซุปญี่ปุ่นนี่ออกจะจืดไปหน่อย แต่โชคดีที่ร้านมี “พริก” อารมณ์คล้ายๆ พริก แดงๆ เปียกๆ ของเกาหลีไว้บริการด้วย และก็ช่วยได้นิดหน่อย “สไปซี่” ขึ้นนิดนุง

โปรแกรมเช้านี้ตั้งแต่  9 โมงถึงประมาณเที่ยงสิบ ผมจะต้องบุกพิพิธภัณฑ์ 3 แห่งด้วยกัน นั่นคือ 9.00-10.30 น. Peranakan Musuem (พิพิธภัณฑ์เปอรานากัน), 10.30 -11.30 น.  Phelatetic Musuem (พิพิธภัณฑ์สแตมป์) และปิดท้ายด้วย 11.30-12.10 น. Civil Defense  หรือพิพิธภัณฑ์ดับเพลิง  เห็นไหมครับอัดแน่น... แต่พิพิธภัณฑ์ทั้ง 3 แห่งตั้งกระจุกตัวไม่ไกลจากโรงแรมครับ… ผมเริ่มต้นดูแผนที่ เดินดุ๊กๆ ข้ามถนน  2 ที ตามเส้นทางเมื่อวาน แต่โฉบเลย National Museum และ  Fort Canning Park ตัดเข้าถนน  Armenian แป๊ปเดียวก็เจอเลย

             Peranakan Musuem ตั้งอยู่ทางด้านขวา เป็นอาคารสวยสไตล์นีโอคลาสสิค สูง 3 ชั้น เธอสวยเก๋ไก๋น่าทำความรู้จักมาก แต่ตอนนี้ยังไม่ 10 โมงครับ ยังไปเปิด...ออกมาเร็วเกินถึงกับเงิบ เลยขอถ่ายรูปภาพนอกเก็บไว้ก่อน และตัดสินใจขอเดิน สำรวจเพื่อหาเป้าหมายอีก 2 แห่งว่าอยู่ตรงไหน แต่แค่เดินตรงไปก็เห็นเป้า หมายอีกที่ตั้งอยู่บนเนินตรงหน้านี่เอง นั่นคือ Phelatetic Musuem (พิพิธภัณฑ์สแตมป์) เป็นอาคาร 2 ชั้นกระทัดรัด  โอเค เจอ 2 เป้าหมายแล้ว…อีก 1 คือ Civil Defense  หรือพิพิธภัณฑ์ดับเพลิง  ซึ่งเดินไปเดินมาก็หาไม่เจอครับ เลยตัดสินใจไม่หาต่อ เพราะที่นี่ดูฟรีครับ ไว้เวลาเหลือค่อยหาแล้วกัน
            หลังจากเดินไปมาตามถนนจนได้เวลา 10 โมง ผมเลือกเข้า Phelatetic Musuem (พิพิธภัณฑ์สแตมป์) ที่อยู่ใกล้ที่สุดก่อน …เปิดประตูเข้าไปที่นี่ก็ต้องรับเราด้วย ช็อปขายของที่ระลึก ทั้งแสตมป์คลอแลคชั่นของสิงคโปร์เองและจากทั่วโลก สมุดสะสม กระดาษเขียนจดหมาย หนังสือเรื่องแสตมป์ และอื่นๆ ต่างๆ ที่จะเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ไปรษณีย์จดหมายและแสตมป์  และด้านขวายังมีร้านกาแฟเล็กๆ ด้วย  ดูเหมือนว่า ที่นี่จะมีเจ้า หน้าที่แค่ 3 คนเท่านั้น คนหนึ่งคอย เฝ้าเค้าท์เตอร์ตรงช้อปเห็นหญิงวัย
ผู้ใหญ่ ผอมๆ ใส่แว่น อีกคนเป็นหญิงวัยรุ่นกะลังง่วนกับการเปิดร้านกาแฟ และคนสุด
ท้ายเป็นแม่บ้าน ที่กำลังลากถังน้ำและไม่ถูพื้นหายลับตาไปด้านหลัง

อันดับแรกที่ทำคือซื้อ3Day Museum Pass” ขอเรียกว่าเป็นบัตรเบ่งสำหรับ คนคลั่งพิพิธภัณฑ์ เพราะซื้อบัตรเดียวก็เดินเข้าพิพิธภัณฑ์ดังๆ ได้ตั้ง 8 แห่ง ด้วยราคาเบาๆ แค่  S$ 20 : 500 บาท (ซึ่งถ้าไปซื้อบัตรเข้าชมแยก 8 แห่งจะต้องเสียเงินถึง S$ 44 : 1,100 บาท)  ซึ่งถ้าเอาจริงๆ จาก 8 แห่ง คุณเข้าไปชมสัก 3 -4 แห่ง ก็คุ้มราคาบัตรแล้วครับ บัตรนี้เป็นใช้ได้ใน 3 วัน นับจากวันที่ซื้อ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ได้แห่งละ 1 ครั้งเท่านั้น และพิเศษสำหรับครอบครัวที่หอบลูกน้อยหอยสังข์มาด้วยยิ่งคุ้มเพราะบัตร
ครอบครัวแบบเหมาไม่เกิน 5 คนราคาแค่ S$ 50 : 1250 บาท เท่านั้น เรียกว่าอยากมีลูกมีเมียก็คราวนี้แหละ (เกี่ยวเป่าวะ....!)

              ภาพในใจที่เดาตอนแรกเดาว่าที่นี่คงรวมพวกแสตมป์หายาก แสตมป์ที่ออก ในวาระพิเศษ หรือประเภทการพิมพ์พิศดาร จำพวกพิมพ์ลงทองคำขาว ประดับมุขขลิป เพชรของสิงคโปร์ แต่ที่นี่ไม่ได้อยากจะแสดงอะไรพวกนั้นครับ หัวใจสำคัญในจดหมาย ของที่นี่ คือเขาขอตีความ ให้ค่า และเสนอความคิดเกี่ยวกับ สแตมป์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่พูดแบบนี้เพราะอะไร...เพราะเข้าห้องแรกก็โดยเลยครับ ด้วยคำถามบนฝาผนัง
            “ What is a Stamp?
           
            สำหรับคนที่ชอบเอาลิ้นเลียก่อนแปะ คำตอบที่คิดได้ไวไว “แน่นอนสิวะ... มันก็ คือสิ่งที่เอาไว้ติดบนซอง เวลาจะส่งจดหมายนี่นา” แต่คำตอบของผมคงจะดูเบเบไปหน่อยครับ เพราะเขาก็ไม่ได้เฉลยบนผนังเสียทีเดียว่า สแตมป์คืออะไร แต่ก็ชวนคิดต่อ
ไปอีกหน่อย

            Art & Design?”                            มันเป็นศิลปะ หรือ งานออกแบบ ใช่ไหมนะ
            Postage of Singapore Life?”  มันคือภาพวิถีของคนสิงคโปร์หรือเปล่าน้า?
            Ambassador Or Marketing?” เอ๊ะ!!! หรือเป็นทูต เป็นการตลาดรึเปล่า?

            เออเว้ย...เริ่มจะสนุกละ ในห้องแรก “ห้องส้ม”นี้ (เรียกตาสีหลังของ การออกแบบนิทรรศการในแต่ละห้องนะครับ) นอกมีของให้เล่นเยอะด้วย เช่น มีแสตมป์ ปลอมจัดแสดงคู่แสตมป์จริง แล้วมีแว่นขยายใหญ่ยักษ์ให้เราส่งดูด้วย...ส่วน หายากที่ จัดแสดงก็ไม่ได้เอามาแต่ตัวแสตมป์มาวางโดดๆ นะครับเพราะเป็นแสตมป์ที่ถูกใช้งานแล้ว เขาเลยเอาซองจดหมายที่ติดแสตมป์นั้น โชว์ให้เราส่องดูเลยเรียกว่าเซอร์มาก
           
            เดินถัดมาอีกห้อง... “ห้องน้ำเงิน” กำลังเล่าเรื่อง “Art & Design?”   ในฐานะคงในแวดวงโฆษณาที่ผ่านงานสิ่งพิมพ์มาต้องซูฮกว่าห้องนี้ดูเป็นวิชาการมากๆแต่ไม่น่าเบื่อนะครับ เพราะเขากำลังเล่า ถึงศิลปะและขั้นตอนการทำแสตมป์ประกอบกับผลงานจริงอุปกรณ์จริงมาวางให้ดูกันให้เห๋นจะๆ ไล่ตั้งแต่แนวคิดแสตมป์แต่ละชุดใคร องค์กรใดของสิงค์โปร์อนุมัติให้ทำ จากไอเดียดีไซน์เนอร์วาดออกมาเป็นมาสเตอร์(มีโชว์คอนเส็ปบอร์ดด้วย)  หน้าตาแบบไหน  ขั้นตอนการผลิต การพิมพ์เป็นอย่างไร แม่แบบเป็นแบบไหน มีการพิมพ์ระบบไหนบ้าง การพิมพ์แต่ละขั้นตอนได้ผลงาน ออกมาหน้าตาอย่างไรจนถึงพิมพ์จบกระบวนการ ซึ่งขั้นตอนการผลิตนี้แอบชอบวิธีนำเสนอเขาจะแบ่งขั้นตอนการผลิตออก เป็นประตูแต่ละบานบานประตูจะมีรายละเอียด แต่ละขั้นตอนให้เราอ่าน  แล้วก็เปิดประตู จะมีผลงานของขั้นตอนนั้นโชว์อยู่ด้วย และที่ชอบมากๆ คือประตูบานสุดท้าย  เขาชวนให้เราดูแสตมป์ที่พิมพ์เสียครับ ยกมาแผ่นเบ่อเริ่ม เรียกว่าเล่าทุกขั้นตอนจริงๆ

            ถัดมาห้องที่สาม “ห้องเขียว” ห้องนี้ชวนเราคิดประเด็น “Ambassador Or Marketing?” ครับ กำแพงแรกจั่วหัว  Know the Stamps, Know The World” รู้จักแสตมป์, รู้จักโลก  แสดงแผนที่โลกขนาดใหญ่ แบ่งแต่ละทวีปโดยใช้สี แต่ไม่มีการแบ่งเส้นเขตแดน โดยจะใช้จุดดำเน้นตำแหน่งประเทศ และมีป๊อปอัพ แสตมป์ที่เป็นตัวแทนแต่ละประเทศตรงตำแหน่งแผนที่  ตามไสตล์คนไทยครับ ขอดูประเทศตัวเองก่อนพุ่งเข้ามาตรงทวีปเอเชีย ดูซิว่าแสตมป์อะไรเป็นตัวแทนประเทศเราในสายตาของชาวสิงค์โปร์
อ๊ะ...เจอแล้ว “รูปหัวโขนทศกัณฑ์” อืม ไม่เคยเห็นนะ พออ่านรายละเอียดชักแม่งๆ ระบุราคา 100 (หน่วยอ่านไม่ออก) และถาษาที่ระบุ ในแสตมป์ก็ยึกยือ เลื่อนลงมามองใต้ภาพ “คอมโบเดีย” ซะงั้น...  เลยมองหาใหม่แล้วก็เจอครับ เป็นแสตมป์การละเล่นไทยเป็นภาพวาดเด็กเล่น “รีรีข้าวสาว”  ระบุราคา 15 บาท

ข้างๆ กันนี้น่าสนใจครับ “Know Singapore Thru Stamp” (รู้จักสิงคโปร์จากแสตมป์) แสดงแผนที่สิงคโปร์ขนาดใหญ่ที่ระบุชื่อแต่ละเขตเอาไว้ บนแผนที่ก็มีป๊อปอัพแสตมป์ที่เป็นภาพสถานที่ หรือจุดเด่นของแต่ละเขตนูนขึ้นมา ดูแผนที่นี้ก็เคลียร์เลย
ครับว่าเขตไหนมีของดีอะไร ย่านไหนเป็นอย่างไร  เรียกว่ารู้จักสิงคโปร์ ทั่วประเทศโดยใช้เวลาไม่นานประเทศไทยน่าจะ ใช้ไอเดียนี้ในการออกแสตมป์ประจำจังหวัด เพื่อเป็นประโยชน์ในการโปรโมทการท่องเที่ยวบ้างนะครับหรือหยิบโอท๊อปมาทำก็ได้ เราคงได้
เห็นแสตมป์แปลกๆ น่าสะสม เช่น สแตมป์ รูปรถติด ของกรุงเทพฯ  สแตมป์รูปทุเรียน ของนนทบุรี  หรือแสตมป์หมาใจดำวางคูแหนมป้าย่น ของเชียงใหม่ก็ได้
           
            กำแพงอีกด้านของห้องดูเรียบๆ แต่เหมือนมีอะไรครับ  เข้าไปดูใกล้ๆ เหมือนเป็นลิ้นชักนะครับ แต่ละบานจะมีชื่อประเทศระบุอยู่ด้วย ซึ่งคาดการว่ามีทุก ประเทศไม่รู้ว่าเขาให้เปิดได้หรือเปล่านะครับ แต่ในเมื่อไม่มีป้ายห้ามก็เลย ดึงออกมาดูมั่วๆ ไม่รู้ประเทศไหน สรุปว่าที่ออกมาคือ หน้าตาที่แสดงแสตมป์ของประเทศนั้นๆ ครับ... ว่าแล้วก็ตื่นเต้น แล่นหาของประเทศไทย (ดูเหมือนจะรักชาติอะไรขึ้นมาตอนนี้) ของไทยแลนด์อยู่หมายเลข 49  ครับ กระชากออกมาดูเลย... แสตมป์ที่จัดแสดงเป็นแสตมป์
ที่ระบุปี  2005 ครับ  มีทั้งแบบเดี่ยวๆ และคอเล็กชั่นพิเศษ เช่น ชุด 100 ปีนักเขียนไทย   อุบะเครื่องแขวน  ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ 
            พอดูแสตมป์ไทยที่หน้าต่างนี้แล้ว รู้สึกประหลาดครับ  ทั้งที่จริงๆ มันก็เป็นเจ้า แสตมป์หน้าที่เชยๆ ที่เราเห็นบนซองจดหมายหรือเห็นทุกวันที่บ้านเรานั่นแหละแต่พอสิ่งเชยๆ เหล่านั้นเรามาดูในต่างแดน กลับรู้สึกว่าเจ้าแสตมป์เหล่านั้นมันเท่ เก๋และเป็น เอกลักษณ์มาก ดูแพง ดูมีค่ามากๆ ไปเลย...เอ๊ะหรือบางทีเราก็ลืมมอง ความงามใกล้ ตัวไปนะ

            ชั้นแรกก็มี 3 ห้องเพียงเท่านี้ครับ แต่ก่อนขึ้นไปชั้น 2 มีโถงเล็กๆ จัดนิทรรศการ  “Yesterday One More” เป็นนิทรรศการ ที่ตั้งต้นจากการรวบรวมโปสการ์ดสมัยเก่าๆ ของสิงคโปร์มาเป็นตัวตั้งแล้วเล่าประวัติศาสตร์ของประเทศผ่านทางภาพที่ปรากฏ
บนโปสการ์ด ไม่ว่าจะเป็นภาพผู้คน บ้านเรือน ของสิงคโปร์ในอดีตหรือรวมทั้งเรื่องการเมืองการปกครองด้วยที่เซอร์คือไอ้เจ้าโปสการ์ดจริงคือโปสการ์ดที่ใช้แล้วครับบนนั้นก็มีลายมือจริงๆ ของคนที่เขียนส่งหากัน  เลยทำให้นอกจากจะได้เห็นภาพ รู้อดีตจากนิทรรศการ ยังได้รู้วิถีชีวิต ความคิดความเชื่อจากเรื่องราวที่เขาเขียนถึงกันด้วย...สำหรับคนที่ชอบ รู้เรื่องชาวบ้านอย่างผมก็อ่านเพลินเลยครับ  แฮปปี้เว่อร์!!!
           
คำถามหนึ่งที่นิทรรศการชั้น 1 ยังไม่ได้ตอบคือ “Postage of SingaporeLife?”ซึ่งดูเหมือนคำเฉลยจะซ่อนอยู่บนชั้น 2 ครับ เรียกว่า มีส่วนส่วนจัดแสดงอยู่ 4 ห้องกับ 1 หลืบเรียกว่าจัดเต็มประวัติศาสตร์และภาพชีวิตกันเลย เริ่มห้องแรก
           
            ห้องแรกนี้เล็กครับ แต่ก็ชอบคือเขาจำลองบ้านเรือนของคนจีนและอินเดียที่เป็นชนชาติหลักของประเทศไว้ครับ แล้วก็เล่าวิถีชีวิต อาหาร เครื่องแต่งกาย ดนตรี วัฒนธรรมของ 2 ชนชาติ วิธีนำเสนอก็เรียบง่ายครับ  เอาแสตมป์ตั้งต้นเลย...แล้วเล่า
เรื่องจากภาพยบนแสตมป์ ที่ชอบมากๆ และแปลกตาหน่อยเพราะไม่เคยเห็นในเมืองไทยคือ คือ “แสตมป์เกี๊ยะแดง” เป็นภาพร้านขายเกี๊ยะโบราณที่มีช่างชาวจีนตอกเกี๊ยะอยู่แล้วรอบๆ ร้านก็แขวนเกี๊ยเต็มร้านไปหมอด ซึ่งเขาก็จำลองบริเวณนันเป็นร้านขาย
เกี๊ยเหมือนภาพเลยครับ แต่ดูเป็นร้านปัจจุบันขึ้นมาหน่อยและที่สำคัญเขาแขวนเกี๊ยๆแดงไว้เต็มเลย (คนไทยคงถือ เพราะไม่แขวนรองเท้าไว้สูงกว่าหัว)  และที่ชอบอีกอันนึงคือ ส่วนที่จำลองบ้านของชาวอินเดีย ตรงหน้าต่างมีไม้ลวกยาวๆ ยื่นออกมาซึ่งแขวนเสื้อผ้าสำหรับตากแดดไว้แน่น  ผมว่ามันจริงและจี๊ดดี คือจำลองชีวิตก็จำลองจริงๆไม่ต้องมาแคร์ว่าภาพลักษณ์มันจะดูไม่ดีไม่เป็นระเบียบ

            ถัดมาอีกห้องอันนี้เฉยๆ ธรรมดาครับ เรียกว่าเดินผ่านเร็วๆ ได้ (ถ้าไม่มีเวลา นะ) คือเล่าประวัติการไปรษณีย์ของสิงคโปร์ พร้อมทั้งโชว์อุปกรณ์ตราปั๊ม ตราชั่ง เครื่องแบบบุรุษไปรษณีย์ และหีบห่อ แต่สำหรับใครสนใจประวัติศาสตร์มากๆ ก็แวะได้นะครับ ข้อมูลอันแน่น

            ห้องต่อไปนี่สิ... “แซ่บ” ชื่อห้อง “ Spice of Life” ที่จั่วหัวถึงความสำคัญของเครื่องเทศและฐานะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเป็นหัวหอกหลักทางการค้าเครื่องเทศ และการค้าทางทะเลมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งก็โยงไปถึงประวัติศาสตร์สิงคโปร์
ครับ ที่อังกฤษต้องการหาสถานที่สักแห่งในการเป็นท่าเรือการค้าของตน และมีจบที่สิงคโปร์นี่เองดังนั้นประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์จึงหอมฉุยคลุ้งไปกับกินเครื่องเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้เลย เด่นๆ ของห้องนี้คือเขาจำลองห้องนี้เป็นท่าเรือ “Boat Quay” (โบ๊ทคีย์
ตั้งอยู่ตรงข้าม Clarke Quay นั่นแหละ ซึ่งทดชื่อนี้ไว้ในใจนะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้เราจะไปที่นั่นกัน)ซึ่งเป็นท่าเรือขอสินค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งซึ่งสมัยก่อนจะคึกคักด้วยเรือถ่ายสินค้า และกรรมกรแบกของขึ้น-ลงเรือ  เขาก็เลยจำลองเรือสินค้าขนเครื่องเทศมาไว้ในห้องเลยครับ เราเดินเข้าไปในเรือได้ ในเรือก็เหมือนมีคนอยู่เลย มีแปลไกวของกรรมกรของข้างของวางไว้ และมีเปิดเสียงจอแจเหมือนอยู่ที่ท่าเรือจริงๆ ด้วย มีแสตนดี้กรรมการแบกของเท่าตัวคนจริงตั้งอยู่รอบๆ ห้องเลย ส่วนรอบๆ เรือนั้นก็ประวัติศาสตร์การค้าเครื่องเทศ ผ่านแสตป์รูปเรือเดินสมุทรต่างๆ มีอุปกรณ์เดินเรือ จำพวกเข็มทิศต่างๆ วางประกอบด้วย แล้วก็จัดแสดงแสตมป์ภาพเครื่องเทศสมุนไพร ที่บรรยายสรรพคุณและโชว์ของจริงไว้เป็นกระสอบๆ ด้วยเลย  ส่วนด้านหน้าของห้องนี้เป็นมุมเล็กๆ ที่เป็นคาดว่าจะเป็นทางหนีไฟครับเขาเลยตกแต่งให้เป็นเหมือนร้านเถ้าแก่ที่ขายเครื่องเทศในละแวกนั้นซะเลย... ฉลาดชะมัด

            อารมณ์ถึงจุดพีคเลยครับคาดว่าห้องสุดท้ายที่อยู่ริมทางเดินต้องซ่อนไฮไลท์เจ๋งเป๊งไว้แน่นอนเลย... เดินเข้าไปใจเต้นเบาๆ และภาพที่ปรากฏตรงหน้าก็ทำให้หยุดหายใจไปได้เลย

            “งู.......”

            นิทรรศการงู!    งู?  งูน่ะครับ! (นี่กูอยู่ในพิพิธภัณฑ์แสตมป์จริงๆ ใช่ไหม... ถามตัวเอง)   พอลองเดินเข้าไปดู คาดว่าห้องนี้สำหรับนิทรรศการชั่วคราวที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ครับ ช่วงที่ผมว่าเป็นช่วง “Snakes Den” คงอยากให้เด็กๆ สิงคโปร์รู้จัก
งู และรับรู้ถึงอันตราย และงูในวัฒนธรรมต่างๆ นะครับ ซึ่งเรื่องราวในห้องนี้หนักหน่วงเอาเลยเช่น เรียนรู้วงจรชีวิตงู  รู้อวัยวะภายในของงู แต่วิธีคิดและนำเสนอน่าสนใจครับ และยังไม่หลุดคอนเส็ปคือ “นำเสนอผ่านสแตมป์” และทำห้องนี้ให้เหมือนเกมส์ “บันไดงู” ทำทางเดินให้เป็นช่องเหมือนเกมส์เดินไปทีละช่องผ่านเนื้อหาแต่ละเรื่อง ดูแสตมป์รูปงูบ้าง แต่ที่ชอบมี 2 อย่างคือ เขาทำอุโมงโป่งๆ เป็นรูปงูให้เด็กลอดผ่านเข้าไปได้ แต่อุโมงนี้เขากำลังเล่าถึงอวัยวะ ภายในของงูเป็นภาพ การตูนครับ (ผมพยายาม
จะมุดไปแล้ว แต่อุโมงมันไซท์เด็กจริงๆ )และอีกมุมคือ มุขตลก ค่าเฟสุดๆ คือเป็นการตูนรูปอาบังกำลังเป่าปี ข้างหน้ามีกระบุงใหม่ ไม่ต้องบอกใช่ไหมครับว่าพอเปิดประบุงออกมาจะเจออะไร... จี้ดี

            ตามทางเดินก็จะทั้ง 2 ชั้น ก็จะจัดของกระจุ๊กกระจิ๊กเกี่ยวกับไปรษณีย์ไว้ด้วยครับ เช่นผนังฝั่งหนึ่งจัดแสดงโมเดลตู้ไปรษณีย์เล็กๆ ของแต่ละประเทศไว้มีประเทศหนึ่งก็จัดแสดงหลายตู้ที่เป็นตัวแทนของแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งแน่นอนชาวไทยอย่างผมก็มองหาตู้แดงของบ้านเรา ซึ่งก้มีจักแสดงถึง 4 แบบครับ ตั้งแต่สมัยคลาสสิคที่ตู้ยังประทับ “ตราครุฑ” จนถึงยุคเทียบปัจจุบันที่เป็นเป็นโลโก้ “ซองบิน” แล้ว
            ที่แปลกใจนิดๆ คือไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสแตมป์ “ซิมสัน” ในสิงคโปร์นะครับ เพราะว่าในชั้นล่างมีวินโดว์แสตมป์และชุดเขียนจดหมายของซิมสันครบชุดเลยและป้ายห้องน้ำยังแทนภาพชายหญิงด้วยตัวการ์ตูนซิมสันด้วย (หรือคนสิงคโปร์ชอบซิมสัน)
            ดูครบทุกห้องแล้วชอบ “ความคิด” ของพิพิธภัณฑ์นี้มากครับ เขาไม่มอง
แสตมป์ว่าเป็นแค่แสตมป์ แต่ใช้มันเป็นตัวตั้งต้นประเด็นและเล่าเรื่อง ราวอื่นๆ เชิงลึกผ่านแสตมป์มากกว่า  คงไม่คิดหรอกใช่ไหมครับว่า การมาเดินดูแสตมป์ในพิพิธภัณฑ์แสตมป์จะทำให้เราเข้าใจระบบการพิมพ์การออกแบบ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของสิงคโปร์ ได้รู้จักเครื่องเทศและประวัติศาสตร์การเดินเรือ รู้จักประเทศต่างๆ ทั่วโลก และที่สำคัญ ได้รู้ว่าปอดของงูอยู่ตรงไหน!!!
            ด้วยความที่ชิลมากครับ ทั้งพิพิธภัณฑ์มีผมเดินอยู่คนเดียง เลยเดินดูเนิบนาบ ประกอบการถ่ายรูปเปะปะไปทั่ว จากที่ตั้งใไว้ว่าจะใช้เวลาที่นี่แค่ชั่วโมงเดียว... จนแล้ว จนรอดปาไปชั่วโมงครึ่งครับ 
            ว่าแล้วก็รีบแล่นออกออกมาข้างนอกครับ….แต่ก็เบรกเอี๊ยด หัวขมำ….
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)