นิยายเที่ยวสิงคโปร์ : Chapter 13_Day2: ช้าง...ต่างแดน (ซิงกะโปโล : Singapolo)


ผมเผื่อเวลาดูโรงละครวิคตอเรียตั้ง 40 นาที...แต่ในเมื่อปิดซ่อมเท่ากับจู่ๆ ผมก็มีเวลาเหลืออีกเกือบชั่วโมง ตอนนี้กำลังตัดสินใจว่าจะกลับเข้าไปที่  ACM เพื่อทักทายมาดามคูอีกรอบดี หรือ เปลี่ยนเป็นสถานที่ต่อไปดี… ผลในการถกเถียง ในใจก็สรุปได้เลยว่า ไปที่อื่นเถอะ “เวลาเหลือ ดีกว่า ไม่เหลือเวลา”
ป้าหมายต่อไปของผม ก็ไม่ไกลไหร่ครับ แค่กลับหลังหัน เดินข้ามถนนเส้น เล็กๆ ตรงหน้า ก็เจอ The Art House” ซึ่งใช้รั้วเดียวกันกับ ACM นี่เอง
ตามประวัติของอาคารสไตล์โคโลเนียล หรูเริดสีครีมสลับขาวนี้  เดิมพ่อค้าชาวสก็อตสร้างไว้เป็นบ้าน ต่อมามีปัญหาเรื่องการเช่าที่ และถูกยึดเป็นของรัฐ และถูกปรับปรุงเป็น  “ The Parliament House” หรืออาคารรัฐสภา ( อาคารเล็กๆ 3 ชั้นเนี่ยนะ!) แต่เมื่อมีการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ (ใหญ่โตอลังการกว่า) ตอนนี้ทุกอย่าง เปลี่ยนไปแล้วครับ ตัวอาคารเปลี่ยนชื่อเป็น “The Art House at the old Parliament” รับหน้าที่เบาๆ เกร๋ๆ เป็นสถานที่จัดแสดงงานนิทรรศการศิลปะ และดนตรี ด้านล่างสุดมีร้านอาหารไทย แอบตั้งอยู่แบบเนียนๆ อยู่ด้วย
จากข้อมูลที่ได้ สถานที่แห่งนี้อาจจะไม่น่าสนใจจนหวือหวาเท่าไหร่ แต่ในเชิง ประวัติศาสตร์นั้นน่าจะไม่ธรรมดา เพราะถึงขึ้นสามารถจองไกด์พาชมสถานที่ได้ (เสียค่าบริการคนละ 8S) เดินพาทัวร์วันละ 2 รอบและรอบหนึ่งต้องมี 20 ขึ้นไปถึงจัด..และยิ่งสำคัญในความรู้สึกผม เพราะไกด์บุ๊คต่างๆ กำชับหนักหนาว่าห้ามถ่ายรูป… เตือนแบบนี้มันช่าง ยั่วใจ… “มันต้องมีอะไรแน่ๆ”
เดินเข้ามาใต้ชายคาอาคาร ไม่พลุกพล่านอย่างที่คิดนะครับ แทบไม่มีนัก ท่องเที่ยว..​(หรือเขาไม่มาเที่ยวที่นี่กัน?) เจอแค่ รปภ. คนนึงยืนอยู่หน้าประตู  ผมแอบยิ้ม ให้ทีหนึ่ง แล้วเดินเข้ามาด้านใน ที่แอบตกใจคือ พอก้าวผ่านประตู เท้าเหยียบพรมนุ่ม ที่ปูไว้ทั่ว ก็มีบันไดขึ้นชั้น 2 มาเกยหน้าเราเลย ยืนยันว่าข้างในนี้เล็กจริงๆ ด้วย... ตรงตีน บันไดมีป้ายแสตนดี้ตั้งว่ามีงาน เปิดตัวหนังสือพ็อคเก็จบุ๊คหรืออะไรสักอย่าง  ผมก็เลยตัดสินใจขึ้นมาชั้น 2 ตามป้ายแบบว่าง่าย

ชั้น 2 ก็ผิดธรรมชาติของงานอีเว้นท์ครับ... งานเปิดตัวหนังสือที่ว่าเหมือนจะจบแล้ว เพราะห้องที่จัดงานเปิดโล่งโจ้ง ไม่มีคน มีแค่โต๊ะลงทะเบียน (เอ๊ะหรืองานยังไม่เริ่ม) แต่ไม่เป็นไร ไม่สนใจครับ แอบเดินเล่นในตัวอาคารเองแล้วกัน  ชั้น 2 นี้ในตัวอาคารก็ไม่ค่อยมีอะไรนะครับ ก็เป็นอาคารผนังขาวๆ พื้นไม้ขัดมันเขาปลาบสะอาดสะอ้าน ผมเดินตัดมาที่อีกด้านหนึ่งของอาคารซึ่งก็เจอของดีนะครับ ตลอดทางเดินด้านนี้มีตู้โชว์เรียบผนังไปตลอดดูเหมือนว่าจะจัดแสดงประวัติศาสตร์และภาพผู้นำของสิงคโปร์คู่กับของใช้ของท่าน 1 ชิ้นวางคู่กัน โดนไล่เรียงตามระยะเวลาจาก อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แค่ผมว่าด้านหนังตู้โชว์นี้น่าสนใจกว่าครับ เพราะมีประตูที่ปิดล็อค ไว้คั่นตู้โชว์เป็นระยะๆ สร้างความใคร่รู้อีกไม่น้อยจนแอบเดาไปว่า นี้อาจจะเป็นห้อง ประชุมใหญ่ หรือห้องทำงานของผู้นำสมัยก่อนก็ได้นะ
ด้วยความที่ไม่ค่อยมีคนเดินเลยครับ ไม่ว่าจะนักท่องเที่ยวหรือเจ้าหน้าที่ ผมเลยขอนั่งพักชิลๆ ที่โชฟาสีน้ำเงินมุมทางเดิน... ตามไกด์บุ๊คกำชับไว้มั่นเหมาะว่า “ห้ามถ่ายรูป” แต่เหมือนยิ่งยุ ไม่มีใครเห็น ผมเลยควักกล้องออกมาถ่ายตู้โชว์สัก 2-3 แชะ... ว่าและก็โช๊ะ... ปลายทางเดินมากล้องวงจรปิดสาดมาทางผม...แช่แฟ้บ
เก็บกล้อง ลุก เดินหนีจากจุดนั้นเลยครับ... กลัวตำรวจจับ... ย้อนกลับมาที่ กลางตึก เป็นโถงใหญ่และมีบันไดขึ้นไปชั้นบนด้วย ซึ่งเหมือนกับ FortCanning Park เลยครับ ตรงตีนบันไดมีรูปใครสักคนตั้งอยู่ และมีเชือกกั้นห้ามขึ้นไป ตรงโถงนั้นมีชุด เก้าอี้ รับแขกใหญ่โตหรูหราตั้งอยู่ชุด หนึ่งด้วยเลยแอบไปนั่งเพื่อลอบ มองขึ้นไปที่ โถงด้านบนไม่ต้องเดาก็รู้ครับ ว่าในอดีตด้านบนน่าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ อาจะเป็น ห้องทำงาน ห้องประชุม หรือห้องรับแขกสำหรับบุคคลสำคัญแน่เลย ตรงโถงชานพักนี้ ถึง ได้มีชุดรับแขกให้นั่งพักใหญ่โตขนาดนี้ และน่าจะสำคัญมากๆ จนปัจจุบันก็ยังไม่ เปิดให้ใครได้ดู... จริงๆ ผมคิดจะแหวกเชือกขึ้นไปดูแล้วเชียว แต่ทว่าตึกนี้ “กล้องวงจรปิด” ชุกชุมจริงๆ
ในตัวอาคารนี้เท่าที่เดินก็ดีที่มีโชฟานุ่มให้นั่ง มีแอร์เย็นๆ และอาคารสะอาด สะอ้านให้เยี่ยมชมครับ ถือว่าหลบร้อนมาชิลก็แล้วกัน แต่ที่ประทับใจผมมาก ที่สุดคือ ห้องที่ซ่อนอยู่หลืบตึก...นั่นคือห้องน้ำครับ... กระเบื้องหรือสไตล์ของห้องน้ำ มันเป็นของ เก่าที่คลาสสิคทั้งหมดครับ สวยและได้อารมณ์มาก (ยกเว้นสุขภัณฑ์ที่เป็นของไหม่ น้ำไหลอัตโนมัติ) ก็บ่งบอกฐานะของตึกนี้ได้ดีครับ ว่าสำคัญมากตั้งแต่อดีต จนปัจจุบันก็ สำคัญไม่สร่าง
ถือว่าภาระกิจเดินสำรวจภายในอาคารที่สำคัญของสิงคโปร์ก็เสร็จสิ้นแบบไวกว่ากำหนดครับ คราวนี้ล่ะถึงเวลาพระเอกตัวจริง ได้เวลาสำรวจสิ่งที่คัญที่สุด ใน ประวัติศาสตร์ไทยกันบ้างแล้ว เป้าหมายต่อไปนี่ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญ ที่ทำให้ผม ดั้นด้นหนีมาเที่ยวสิงค์โปร์คนเดียวอีกครั้งเลยนะครับ  ถ้าเล่าให้ฟังดูตะคล้ายหนัง “ต้มยำกุ้ง” นะครับ คือผมมาตามหาช้าง!!!  มีช้างไทยอยู่ที่นี่ และหลายคนอาจไม่ทราบ แต่ความลับนี้ตั้งแบบ โจ่งแจ้ง ด้านหน้า อาคารเลยครับ เป็นความลับที่ได้เปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปตลอดการ
“เอ๊ะ...นี่โรเบิร์ด แลงดอน หรือ แดน บราวน์ นะครับ!!!
เพียงแค่แหงนมองดูก็จะพบ ช้างหล่อด้วยทองสำริดยืนอยู่บนแท่นสูง ชูงาขาววับอยู่หน้าอาคาร ช้างเชือกนี้ คือรูปหล่อที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่พระราชทานไว้ เมื่อปี พ.. 2413 หรือเมื่อกว่า 144 ปีที่แล้ว

ภาพตัด ไปยุคอดีต ในสมัยที่ประเทศไทย ยังเรียกตัวว่า “สยาม”  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงมีพระราชสาส์นเชิญ “เซอร์ แฮรี่ ฮอต” ผู้ว่าราชการเมืองสิงคโปร์เดินทางมาดูสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ท่านเซอร์พร้อมภริยาจึงเดินทางโดยเรือตามนัดหมาย และวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ก็เกิดสุริยุปราคาตาที่พระองค์ทรงทำนานไว้อย่างแม่นยำ เป็นที่ตื่นตะลึงของทั้งชาวไทยและต่างชาติ
เซอร์ แฮรี่ ฮอตเลื่อมใสในพระปรีชาญาณของรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างมาก จึงทูลเชิญให้เสด็จสิงคโปร์บ้าง ภาพหลังจากปรึกษากับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระองค์ก็ทรงตอบรับการเสด็จ แต่ต้องมีการเตรียมตัว และนัดหมายเสียก่อน
และภายหลังจากเสด็ดกลับจากตำบลหว้ากอ ในปีเดียวกันนั้น ก็ทรงประชวร และ สิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม แม้ว่าพระองค์จะ ไม่ได้เสด็จสิงคโปร์ ตาม พระราชประสงค์ แต่ก็ถือเป็นการปูทางไว้ให้แก่พระโอรสซึ่งขึ้นครองราชสมบัติต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จประพาศสิงคโปร์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2413 ชั่วเวลาเพียง 2 ปี หลังจาก รัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ และนับเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จประพาส ต่าง ประเทศ
            เราคงจะเคยได้ยินเรื่องราว “ไกลบ้าน” ที่รัชกาลทรงเดินทางประพาศ ยุโรป หลายประเทศเป็นเวลานาน แต่นั่นเป็นครั้งหลังๆ ที่ทรงเสด็จต่างประเทศครั้ง สิงคโปร์ เป็นสถานที่แห่งแรกที่กษัตริย์ไทยไปเยือน ก่อนหน้านี้ไทยและสิงคโปร์ มีความสัมพันธ์ เชิงประวัติศาสตร์มาก่อนหน้านี้แล้ว และบทบาทของสิงคโปร์ในยุคนั้นที่กลายเป็นแหล่ง รวมวัฒนธรรมตะวันตกที่ค่อยๆ แพร่หลายเข้ามาในสยาม และมีส่วนช่วยสร้าง สยามให้ ก้าว สู่สังคมยุคใหม่  คนสยามได้เรียนรู้ และค่อยๆ ปรับตัวตามอย่างฝรั่ง และท่ามกลาง สถานการณ์การล่าเมืองขึ้นขอวชาวยุโรปก็ทำให้สยามต้องปรับตัวให้เข้ากับชาวตะวันตก ปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้น เพื่อรอดพ้นปากเหยี่ยว ปากกาของพวกล่าอาณานิคมให้ ได้ และการเสด็จสิงคโปร์ครั้งนั้นเอง ได้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสยามมากมาย

            (ภาพตัดยังอดีต, สยาม สมัยรัชกาลที่ 5)
            มีการเตรียมตัวเสด็จครั้งใหญ่ในราชสำนักครั้งนี้ อันดับแรกได้จัดเตรียมเรือรบ ทำด้วยเหล็กที่ต่อจากสกอตแลนด์นามว่า “พิทยัมรณยุทธ” เป็นเรือพระที่นั่ง มีเรือนำ และเรือตามเสด็จอีกอย่างละ 2 ลำ รวมทั้งกระบวนมีเรือทั้งหมด 3 ลำ  ภายในเรือบรรจุ ข้าราชบริพารทั้งสิ้น 208 คนซึ่งการไปต่างประเทศกันอย่างเอิกเริกจำนวนมากเช่นนี้ ต้องมีการปรับตัวกันหลายอย่าง
            เริ่มที่เสื้อผ้า การจะเปลือยบน ห่มล่าง ไม่สวมถุงเท้า รองเท้านั้นดูไม่เป็น ระเบียบ อาจถูกฝรั่งดูถูกได้ (เพราะสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ฝรั่งที่เข้ามาในราชสำนักต่าง ลือกันไปว่าข้าราชการสยามไม่สวมเสื้อนั้นดูป่าเถื่อน) จึงได้เริ่มกำหนดเครื่องแต่งตัว ของข้าราชการ และผู้ที่ตามเสด็จ เพื่อการเข้าสมาคม การร่วมพิธีต่างๆ  และชุดใส่ ปกติขณะอยู่ที่ต่างประเทศ สาเหตุที่ต้องให้ความสำคัญเป็นเพราะ ถือว่าการไปต่าง ประเทศเท่ากับการนำเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประเทศไปแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนต่างบ้านต่างเมือง
           
            แม้กระทั่ง “ทรงผม” ก็มีการปฏิรูปอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน จากชายใน ราชสำนักที่ ไว้ผมทรงมหาดไทย (ทรงของเผือกในเรื่องพี่มาก... และเป็นที่ขบขันในสายตาฝรั่ง) รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ผู้ติดตามเริ่มไว้ผมยาวอย่างฝรั่ง และก็ต้องมีการเตรียมตัวกัน นานกว่าจะรอให้ผมของทุกคนเข้ารูปเข้ารอย
เป็นอันว่า การ Make Over ของผู้ตามเสด็จก็เสร็จสิ้น พร้อมสู่การเดินทาง
วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม .. 2413 (ตรงกับแรมสี่ค่ำ เดือนสี่ ปีมะเมีย) เรือพระที่นั่งพิทยัมรณยุทธ ก็ออกจากท่าราชวรดิษฐ์ แล่นออกปากแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อถึงเมืองสมุทรปราการ เรือทอดสมอและทรงเสด็จนมัสการพระสมุทรเจดีย์ ก่อนที่ เรือจะแล่นออกสู่ทะเลลึก ทรงประทับที่สงขลาเป็นเวลา 1 วัน แล้วเรือก็มุ่งหน้า สิงคโปร์ ทอดสมอใกล้ท่าเรือ “ยอนสตันเปียร์” เมื่อวันที่ 15 มีนาคม .. 2413 เวลา 10.00 น.
สมัยนั้นการโทรเลขระหว่างสิงคโปร์ และสยามยังไม่มีใช้ (การติดต่อที่รวดเร็วก็ไม่มี นอกจากนกพิราบ) ฝ่ายอังกฤษแม้จะทราบว่ารัชกาลที่ 5 จะเสด็จเยือน แต่ก็ไม่ทราบวันที่เสด็จถึงแน่นอน และขณะนั้นตำแหน่งเจ้าเมืองก็ว่างอยู่ นายพันเอกแอนสันผู้รั้งตำแหน่งต้องเขิญประทับในเรือวันหนึ่งก่อน เพราะตน เตรียมการ เสด็จไม่ทัน
วันรุ่งขึ้น 16 มีนาคม ก็มีพิธีรับเสด็จที่สะพานยอนสตันเปียร์ ทหารยืนแถว พร้อมแตรวงเป็นกองเกียรติยศ เมื่อเสด็จขึ้นที่ท่าป้อมแคนนิ่ง พร้อมเรือ รบอังกฤษ ยิงสลุต ผู้รั้งราชการเมืองสิงคโปร์ก็เชิญเสด็จผ่านกองทหารเกียรติยศไปขึ้นรถพระที่นั่ง ตรงไปยังทาวน์ฮอลล์ (เดาว่าเป็นศาลาประจำเมือง) เสด็จเข้าห้องประชุม ที่แขกผู้มี เกียรติ  พ่อค้านานชาติรอรับเด็จอยู่ มิสเตอร์โทมัส สก็อต หัวหน้าสมาคมพาณิชย์เมือง สิงคโปร์ เป็นผู้กราบทูลถวายการต้อนรับ  เมื่อเสร็จพิธีการ ผู้รั้งราชการเมืองสิงคโปร์ เชิญเสด็จประทับ ณ คฤหาสน์ของเจ้าเมืองสิงคโปร์ซึ่งตั้ง บนเนินเขา (ซึ่งเดาว่าคงเป็น Fort Canning Parkที่ได้ไปเยือนมาแล้วนั่นเอง)
ตลอดระยะเวลา 7 วัน ที่พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับ อยู่ที่เมืองสิงคโปร์  ผู้รั้งราชการเมืองสิงคโปร์ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมเกียรติ เชิญเสด็จทอดพระเนตรกิจการ สถานที่ต่างๆ ทุกวัน มีงานราตรีสโมสรเต้นรำของฝรั่ง งานประกวดดอกไม้ และการชมสวนพันธ์ไม้ที่สวนพฤษศาสตร์
สำหรับกิจการและสถานที่ที่เสด็จเยี่ยมชม ได้แก่ เรือนจำ โรงพยาบาล ศาล อู่ต่อเรือ ที่ทำการไปรษณีย์(เดาว่าเป็นโรงแรม The Fullerton) สถานีดับเพลิง (คาดว่าเป็น Civil Defense ที่ไม่ได้ไปเยือน) โรงเรียนโบสถ์ของศริสต์ ตลาดร้านค้า สวนสาธารณะ รวมทั้งทอดพระเนตรการจัดถนนหนทาง การบำรุงบ้านเมืองทั่วไป
จากสิงคโปร์ รัชกาลที่ 5 เสด็จต่อเมืองปัตตาเวียของชวา (ซึ่งเป็นเมืองขึ้น ของฮอลันดา) และขากลับทรงประทับที่สิงคโปร์อีก 1 วัน และวันที่ 11  เมษายน พ.ศ. 2414 เรือพระที่นั่งก็ออกจากท่าเรือสิงคโปร์เดินทางมาถึงกรุงเทพวันที่ 15 เมษายน รวมเวลาเสด็จต่างประเทศครั้งแรก 37 วัน
ในช่วงต้นที่เสด็จมาถึงสิงคโปร รัชกาลที่ 5 ได้มีพระราชโทรเลขถึงสมเด็จ พระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ความว่า
“ทูลสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย
หม่อมฉันออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม มาตรวจหัวเมืองของหม่อมฉัน แล้วได้ลงเรือมาถึงเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพระองค์ เป็นครั้งแรกที่เจ้าแผ่นดิน สยาม ได้มาขึ้นที่เมืองของอังกฤษ ท่านผู้รั้งราชการเมือง ได้ต้อนรับหม่อมฉัน เป็นเกียรติ อย่างสูงสุดและได้จัดให้พักที่จวนที่มีความสุขสบายมาก หม่อมฉันมีความยินดี ที่ได้ เห็นบ้านเมืองและผู้คนซึ่งอยู่ในพระราชอำนาจของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองถึง เพียงนี้ หม่อมฉันขอบพระทัยที่พระองค์ทรงรับรองโดยไมตรี และขอให้พระองค์ทรง เจริญชนม์สุขทุกประการ”
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับพระราชโทรเลขตอบจากสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ความว่า
“ทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม
หม่อมฉันได้รับพระราชโทรเลขมีมาจากเมืองสิงคโปร์ หม่อมฉันมีความยินดี มากที่ได้ทราบว่าพระองค์เสด็จมาถึงแผ่นดินอังกฤษ และเจ้าเมืองกรมการ ได้รับเสด็จ เป็นที่พอพระทัย หม่อมฉันขอบพระทับที่ พระองค์ทรงประทานพรและขอให้พระองค์ เจริญ พระชมน์สุขทุกประการ”
ไม่เพียงรัชกาลที่ 5 จะทรงประทับใจถึงขั้นการมี พระราชโทรเลขไปถึง พระราชินีอังกฤษแล้ว เพื่อเป็นการขอบคุณในการถวายการต้อนรับที่ดีของชาวสิงคโปร์ จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อรูปช้างทำด้วยทองสำริด 2 รูป แล้วให้พระยาสมุทรบุรารักษ์ นำไปถวายเป็นที่ระลึก
ภาพตัดมาวันที่ 12 ตุลาคม .ศ. 2556 เด็กชายคนหนึ่งแหงนมองรูปปั้นช้าง  อย่างตั้งใจ จนฝรั่งสามีภรรยาสูงอายุคู่หนึ่งที่เดินผ่านมา อดที่จะมองตามไม่ได้ แล้วก็คง เห็นเพียงแค่ รูปปั้นช้างสีดำเล็กเชือกหนึ่งเท่านั้น แบบไม่ได้อินอะไร
“พระบาทสมเดจพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม ได้เสดจพระราชดำเนินขึ้นเมืองสิงคโปร์ เปนแผ่นดินต่างประเทศ ครั้งแรก ที่พระเจ้า แผ่นดินสยาม ได้เสดจพระราชดำเนินเมื่อ ณ วัน ๕ฯ ๑๑ ๔ ค่ำปีมเมีย โทศก ๑๒๓๒”

ฐานศิลาได้จารึกข้อความนี้ไว้เป็น 4 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ มลายู และจีน โดยจารึกไว้ด้านละภาษา

น่าแปลกที่เหตุการณ์สำคัญแบบนี้ ในเมืองไทยเรากลับไม่มี สถานที่หรือ หลักฐานให้เราได้เรียนรู้ศึกษาอย่างชัดเจน  ทว่าที่สิงคโปร์เรื่องราวนี้ยังคงดำรงอยู่อย่าง ชัดเจน ณ สถานที่กระทั่งบัดนี้

และเพื่อประกาศมิชชั่นที่สำเร็จไปอีก 1 ... จึงขออัพ Video IG ซะหน่อย 



ติดตามตอนต่อไป Chapter 14 Day 02 เร็วๆ นี้


อ่านตอนเก่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)