"จองถนน" จองบัตรไปดูของสูงกันเถอะ (โขนสมเด็จฯ)


ยอดมกุฎของนาฏศิลป์ไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือโขน
และสุดยอดของโขน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็น “โขนพระราชทาน”
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ เปิดแสดงเรื่อง “จองถนน”

เบิกโรง
บทโขน “จองถนน” นี้เป็นพระราชนิพนธ์ในพระยาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ซึ่งเมื่อมีการเปิดแสดงในยุคนี้ ก็มีปรับบทต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย

เรื่องย่อ
อ่านเอาที่นี่นะครับ (เว็บไซท์อย่างเป็นทางการของจองถนน)
http://www.sub.khonperformance.com/?page_id=19

มุมมองของข้าพเจ้า
ผมเป็นบุคคลหนึ่งที่รักและพร้อมจะเชิดชูวัฒนธรรมไทยอยู่เป็นทุนอยู่แล้ว
เพราะรู้ว่ามัน “ไม่ใช่ของถูก”  ดังนั้นมุมมองของข้าพเจ้าต่อ “จองถนน” จึงเป็นไปเชิงบวกอย่างมาก ( ออกตัวไว้ก่อน)

            โขนชุด จองถนน โดยเนื้อเรื่อง นอกจากจะมีความสนุกอยู่เป็นพื้น ยังเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน คนที่ไม่เข้าใจรามเกียรติ์ หรือไม่รู้จักจองถนน ก็สามารถเข้าใจและสนุกไปกับการแสดงได้ นอกจากที่จะสนุกแล้ว ยังมีอรรถรสครบ (มาก) เพราะทั้ง ชบขัน รักใคร่ ต่อสู้ สั่งสอน วางแผน ตื่นเต้น รบทัพ เร้าใจ... บวกกับความสามารถของนักแสดงทั้งหลาย ทำให้บรรยากาศในโรงละครเต็มไปด้วยความรื่นเริง และผู้ชมต่างมีอารมณ์ร่วมไปกับการแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ
(ไปดูเอาเองเด้อ...ว่ามันเลิศแต่ไหน)
           
            ฉากของโขนพระราชทานยังทำได้ งดงาม สวยงาม เต็มเวที และงานระยับ เอกลักษณ์ของฉากโขนพระราชทานยังคงเป็นเช่นเดิม คือให้ความรู้สึกเหมือนดู​ “ภาพจิตรกรรมฝาผนัง” ที่ละเอียด และเห็นเรื่องราวต่างๆ ครอบคลุม  งานฉากยังคงเป็นความเป็นมิติ เห็นความลึกตื้นได้อย่างอัศจรรย์ และยังคงใช้ฉากในลักษณะ ฉาก3ชั้น” กล่าวคือ “1.ฉากผ้าเขียนภาพให้เห็นฉากหลังอย่งถ้วนทั่วเป็น Background 2. ร่วมกับงานนูนต่ำเพื่อให้เกิดมิติเพิ่มชึ้น และ 3.เสริมด้วยฉากที่สมจริง เป็นอันครบ...”

            ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก ยังคงเน้นงานละเอียดที่วิจิตร “ราชรถ” ที่ละเอียดอ่อนราวกับสิ่งในพระราชพิธี ฉากวัง และพระที่นั่งที่ไม่ต่างจากอาคารก่ออิฐถือปูนประดับกระจกจริงๆ
            ฉากในจองถนนนั้น เรียกว่าเด่นทุกฉาก (มี
๑๒ ฉาก ตลอดการแสดง ๒ องก์) ไล่เรียงตั้งแต่ ฉากพลับพลา (ที่เอาอารมณ์คงอยู่หมดตั้งแต่เริ่มการแสดง) ฉากริมฝั่งมหาสมุทร (ที่มีทางเดินหินและ Prop น่ารักๆ คือหินใหญ่น้อย) ฉากตำหนักน้ำกรุงลงกา (ที่เก๋ด้วยการใช้ Smoke และการเปิดตัวสุวรรณมัจฉา) ฉากริมใต้มหาสมุทร (ที่ใช้มัลติมีเดียมาช่วย ทำให้งานออกมาได้เก๋ไก๋ Modern ยังกะโชว์ในลาสเวกัส) ฉากใต้ท้องสมุทร (เก๋ๆ สวยงามยิ่งกว่า ลิตเตอร์เมเมต ออนบอร์ดเวย์) ฉากหน้าพระลานกรุงลงกา (ที่ยิ่งใหญ่มาก ได้พลังแห่งการแต่งทัพ) และฉากสุดท้าย ฉากสนามรบ​ (ที่มีเรื่องราวมากมายอยู่ในฉากนี้ ) โดยรวมแล้ว ชอบวิธีนำเสนอ ในฉากที่หนุมานว่ายน้ำในมหาสมุทรมากกกกกกก เพราะโคตร Creative และฉากสนามรบที่เป็นฉากยาวและมีเรื่องราวมากมาย แต่มีวิธีนำเสนอที่น่าสนใจมาก


            แม้จะไม่ได้เห็นการจัดแสดงไฟ หรือเทคนิคใหม่ใน “จองถนน” แต่การจัดแสงนั้นต้องชม อย่างมาก เพราะเนื่องเรื่องมีทั้ง ในป่า ในพลับพลา ในวัง ในท้องพระโรง กลางมหาสมุทร ใต้มหาสมุทร และหลากหลายอารมณ์ การควบคุมแสงสามารถสื่อสารเนื้อเรื่อง ทำให้เกิดความสมจริง และให้ความรู้สึกได้อย่างมหัศจรรย์ทีเดียว นอกจากนั้นการเลือกใช้เทคนิคมัลติมีเดีย ในจังหวะที่ถูกที่ควร ทำให้โชคนี้ออกมา Magical มากๆ

            เครื่องแต่งกาย...ขอผ่านครับ ....เพราะมันคือสุดยอดอยู่แล้ว

            ดนตรี การร้อง การพากษ์นั้น ระดับเทพอยู่แล้ว ไม่มีอะไรจะบังอาจติเตียนเลย...

            การเล่าเรื่อง และบทนั้น ทำออกมาได้ดี กระชับไม่ยืดเยื้อ (จะยืดเยื้อก็ด้วยรูปแบบ ขนบของโขน นั่นแหละ แต่อย่ามองว่าเป็นความเอื่อยอาดเลย มันคือเสน่ห์ของโขนต่างหากเล่า)
           
            ต้องชมนักแสดงและผู้ฝึกซ้อมที่ซ้อมกันมาดี เพราะนอกจากจะเล่นกันเป๊ะ เข้าถึงตัวละคร และยังอ่อนช้อย มีพลัง....จนอดเอาไปเทียบไม่ได้ว่าการแสดงโขน มันก็ศิลปะชั้นสูงที่เทียเท่ากับทุกชาติได้ ของฝรั่งมีการร้องโอเปร่า ที่ต้องใช้เสียงสะกดคนดู หรือบัลเล่ก็ตาม แต่ในฉากที่เช่นทศกัณฑ์ต้อง “รำ” คนเดียวกลางเวทีใหญ่มาห ท่ามกลางฉากดำ แต่การแสดงที่มีพลังทำให้คนตัวเล็กๆ บนเวทีตัวใหญ่เป็นยักษ์คับเวที และตรึงผู้ชมได้อยู่กับการรำ โดยที่ไม่ต้องส่งเสียงใดใดออกมาด้วยซ้ำ....โคตรเท่และ Art มาก
            มีบางฉากที่ต้องชมนักแสดง (รวมถึงผู้กำกับด้วย) ที่คงซ้อมกันมาดี ทำให้การแสดงสดในบางฉากที่ยาก และมีข้อปิดพลาดบ้าง แต่ก็ลื่นไหลอย่างที่สุด จนหลายๆ คนอาจไม่รู้ก็ได้ เช่น ฉากการโยนหิน แล้วนี่โมมาร่วมรับ มันไม่สามารถกำหนดได้ตายตัวหลอกว่าก้อนหินจะไปหล่นตรงไหน แต่ทุกคนก็ร่วมกับทำฉากนั้นให้สนุกสนาน และอีกฉากที่คงเกิดแค่รอบผม ( ๓ พฤศจิกายน) คือทหารยักษ์(ชั้นเลว) คนหนึ่งเป็นลมล้มลง (คงเป็นลมจริง) นายทหารยักษ์ที่เหลือก็พาดอาวุธนิ่งๆ ไว้กับกำแพงวัง ค่อยๆ หามเพื่อนออกไปจากฉาก และเดินกลับเข้ามาประจำที่ตนอย่างเนียนๆ (เชื่อว่าหลายคนยังไม่สังเกตถึงเหตุการณ์นี้ด้วยซ้ำไป)

            ผู้กำกับการแสดงนั้นออกแบบบล็อกกิ้งได้วิเศษและงดงามมาก... และรูปแบบการนำเสนอ “จองถนน” ชุดนี้ก็ดูร่วมสมัย ไม่โบราณ (บางแวบที่ดูนึกว่าดู Broadway musical อยู่...เพราะมันทันสมัยจริงๆ) ฉากที่ชอบการนำเสนอคือ ฉากเปิดตัว​ “เหล่าปลานีโม” และ “การปฏิบัติภาระกิจของฝูงปลานีโม” และทุกฉากที่มีความสนุกสนานและรับรู้ได้ถึง การคิดมา อย่างรอบคอบของผู้กำกับจริงๆ

            กล่าวโดยสรุปนะครับ
            “จองถนน” จัดทำขึ้นจากกลุ่มคนที่เข้าใจถ่องแท้ในศาสตร์โขนละคร และศาสตร์ของ
Theater สมัยใหม่ และประยุกต์ทั้งสิ่งไว้ได้อย่าง “ลงตัว” ไร้ที่ติ...  นักแสดงทุกคนนอกจากฝีมือแล้ว ยังใช้วิญญาณในการแสดงอีกด้วย นอกจากนี้ต้องชมความเป็นทีมเวิร์คของทุกส่วนฝ่าย ที่ทำโชว์ออกมาได้เลิศ ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ที่ช่วยทำให้ศิลปะชั้นสูงของไทยยังคงมีคุณค่า เป็นของสูงสืบไป

            สุดท้ายอยากฝากถึง “เรยา เดอะมิวสิคัล” และทีม “เนชั่น” ให้มีดูละคร “จองถนน” แล้วทำโชว์ให้ออกมาดี อย่างน้อย 10% ของจองถนนก็ยังดี (ซึ่งไม่รู้จะทำได้ไหม)


ของฝาก
ดูวิดีโอภาพเบื้องหลัง "จองถนน"
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=A2W5H2Qq9zY

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)