เหนือขึ้นไปกว่าเดิม “หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” : รีวิว หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล

ปี 2553 นี้นับเป็นปีวันกึ๋นของทีมละครเวทีซีเนริโอ โดยแท้ พร้อมเมื่อปลายปีที่โปรโมทว่าจะบรรเลง “เลือดขัตติยา เดอะมิวสิคัล” เล่นเอาคอละครตื่นเต้นไปพักใหญ่ ก็ต้องจ๋อยเพราะทีมงานแถลงขอพับโปรเจค เหตุเพราะคิวนักแสดงไม่ลงตัว แต่อย่างไรละครฟอร์มกลางอย่าง “กินรีสีรุ้ง” ก็บรรเลงขัดจังหวะฝนช่วงกลางปี แต่ว่ามีเหตุวุ่นวายทางการเมือง ทำให้บัตรไม่วิ่ง ต้องเลื่อนการแสดงไป 1 เดือน และทีมงานก็ทำงานแข่งกันเวลากันขวาขวิด
และแน่นอน โปรเจคเสียบแทน “เลือดขัตติยา เดอะมิวสิคัล” ที่พับไป หวยก็มาออกที่ “หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” ในละคร 1 เรื่อง ใช้เวลาในการผลิต 7-8 เดือน คิดดูแล้วกันครับว่า จากวันเล่นรอบกาลาแล้วนับย้อนไป เวลาการผลิตจะบีบขี้แตกขนาดไหน เรียกว่าทีมงานถึงกับลิ้นห้อยก็ไม่ผิด เพราะไหนจะต้องดันกินรีเข้าโรงละคร และไหนจะต้องปั้น “หงส์” เวทีต่อ..... เรียกว่า “สัตว์ปีก” เต็มเวทีรัชดาลัยกันเลย ทั้งหงส์ ทั้งกินรี
“หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” เป็นบทประพันธ์มาก่อนครับ โดยนามปากกา “ศิวนารถ” ตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสารขวัญเรือน พศ.2536-2538 และบ้านวรรณกรรมนำมาตีพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกปี 2538 จนวันนี้พิมพ์ครั้งที่4 แล้ว ไปหาซื้อกันได้นะครับ และมีนิยายภาคต่อชื่อ “มังกรเดียวดาย” อีกด้วยครับ
EXACT จับนวนิยายมากลายเป็นละครเมื่อปี 2543 ซึ่ง POP มากให้ตายเหอะ ได้ทั้งเรตติ้ง ได้ทั้งรางวัล คราวนั้นนำแสดงโดย มาช่า / แท่ง / นพพร เรียกว่า ถึงรัก ถึงรบ ถึงแค้น กันเลยทีเดียว
คุณบอยกล่าวกับทุกสื่อเสมอๆ ว่า หงส์เหนือมังกร เป็นโปรเจคหนึ่งที่คุณบอยย่างสร้างมานานเนิ่น แต่นึกไม่ออกว่าจะสร้างให้ออกมาอย่างไร แต่ปัจจุบัน ด้วยเหตุการณ์ ในบ้านเมืองที่เกิดขึ้น เป็นเตาอบให้นวนิยายเรื่องนี้สุกงอมได้ที่ มีแก่นที่จัดเจนจนคุณบอยมั่นอกมั่นใจที่จะสร้างมันขึ้นมา

“เมื่อหงส์บินขึ้นบนเวที”
“หงส์เหนือมังกร เดอมิวสิคัล” เล่าย้อนไปประมาณ 50 ปีก่อน ยุคที่ปกครองโดยรัฐบาลจอมพล บรรยากาศเยาวราช ชาวจีนอพยพมาที่เมืองไทยจำนวนมากและดูเหมือนจะถูกจัดให้เป็นเพียงพลเมืองชั้น 2 ของประเทศ เพื่อความมั่นคงชาวจีนจึงรวมตัวกันเป็นก๊ก เหล่า สมาคม และบนเวทีจึงเล่าถึงสมาคม “เทียนเล้ง” (มังกรฟ้า) ที่ประกอบด้วย 3 ก๊กรวมกัน โดยมีผู้นำ 3 พี่น้องร่วมสาบานอย่าง ตี๋ซา ตี๋ซุ้ง และเต็งล้อ
หากเปรียบเทียบ นวนิยาย กับ เวที แน่นอนว่า นวนิยายที่ศิวนารถจินตนาการไว้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยบนเวที เพราะเนื้อเรื่องและเหตุการณ์ต่างๆ แสนจะพิศดาร หากแต่คุณบอยเลือกที่จะคงประเด็นของเรื่องนี้ไว้ แลไม่ลืมหยิบเหตุการณ์สำคัญๆ ในเรื่องมาประกอบกันในรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย


“หัวใจของละคร”
ธีมของละครเรื่องนี้มันง่ายมาก และแฝงอยู่ในเนื้อเพลงอยู่แล้ว คือ คำถามที่ว่า “แล้วจะมีชีวิตเพื่ออยู่ให้เหนือ เพื่อเหนืออะไร” คือทั้งเรื่องหลักๆ ของมันก็คือ เป็นการตั้งคำถามระหว่างของ2สิ่งเสมอ (ชื่อเรื่องก็มี 2 สิ่งอยุ่แล้ว หงส์-มังกร) เช่น ถูก-ผิด การทะเยอทะยาน-ความพอเพียง ความรัก-ความแค้น การเชื่องมงาม-การไตร่ตรองด้วยปัญญา ฟ้าลิขิต-ความเพียร ละครเรื่องนี้จะตั้งคำถามกับคนดูตลอด “เราจะทะเยอทะยานไปแค่ไหนถึงจะพอ” “เราอยากขึ้นเหนือคนอื่นแต่ต้องทำร้ายคนอื่น มันจะเป็นสุขจริงหรือ” เป็นต้น
ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมานะ ละครเรื่องนี้ได้แรงบัลดาลใจมาจากความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมในรอบหลายๆ ปีนี้แหละ มันเป็นประเด็นเช่น การใช้สื่อในการครอบงำความคิดความเชื่อคนจนงมงาย ตัวละครบางตัวก็เปรียบเหมือนนักการเมืองที่พยายามถีบตัวเองขึ้นไปจนอยู่สูง แต่แล้วกลับไม่มีแม้กระทั่งที่ซุกหัวนอน(จากในบทละครนะ) นักการเมืองที่พยายามทะยานสู่ฟ้าแบบเหยีบหัวคนอื่นขึ้นไป นักการเมืองที่มุ่งอำนาจโดยไม่สนการทำประโยชน์ให้ประชาชนที่เลือกตนมา ความลุ่มหลงอำนาจของนักการเมืองที่ทำให้เกิดกินแหนงกันเองจนอ้างว้างไม่มีใครรอบกายกระทั่งครอบครัวตนเองก็ต้องวิบัติ หรือกระทั่งแนวคิดพวกชังเจ้าที่คุณบอยแอบเสียบไว้มากเช่น “อยู่สูงโดดแดดแผดเผา อยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ร่มเย็นกว่ากันเยอะ” และการนำเสนอเศรษฐกิจพอเพียง ความพอดีที่ควรเป็นรากฐานจิตใจของคนไทยที่เหมาะสม มาเป็นบทสรุปของละครเรื่องนี้ ....... หลายคนอ่านถึงประโยคนี้แล้วร้องยี้มา ผมมันบ้าตีความเกินไป... แต่ผมรับประกันเลยครับว่า....ผมว่าทีมงานคิดลึกไปหว่าผมอีก อาจคิดไปว่าแต่ละตัวละครนั้นเป็นตัวแทนของใครในสังคมด้วยซ้ำไป คุณไปดูเถอะ แล้วจะได้คำตอบเอง ว่าใครเป็นใคร และถ้าใครไม่เชื่อว่าแก่นของเรื่องนี้ลึกซึ้ง ลองอ่านบทเพลงข้างล่างนี้ดูนะครับ มันเคลียร์มาก
“บินสูงแล้วหวั่น ตามฝันแล้วพ่าย มันย่อมเป็นได้ไม่ต้องเสียใจ ชีวิตคนเรา เท่านี้ใช่ไหม เหนื่อยมาเท่าไหร่อยากเพียงได้หลับสบาย เพียงแค่ไออุ่น ให้หนุนพักพิง เพียงแค่พออิ่มไม่เดือดร้อนใคร เพียงแค่สักคนอยู่เคียงข้างกาย พอเท่านี้เองเราคงได้หลับฝันดี เราจะพบนิยาม คำว่าพอ แค่เราพอเพียงเท่านี้ เพียงชีวิตพอใจในสิ่งที่มี ไม่วุ่นวาย จะมองสูงหรือต่ำไปทำไม เพียงแค่เหลียวมองข้างกาย จะพบคนที่พอดีกับเรา..........................” (ไม่ฟังต่อในโรงละครนะครับ)

“นักแสดง”
หลิว – แพท สุทธาสินี
หลิวเป็นหญิงสาวทั่วๆ ไปแต่ด้วยความเป็นเจ้าแม่ จึงทำใมห้เธอต้องทิ้งวิญญาณสาวสดใสและต้องปากกัดตีนถีบทำแกร่งกล้าต่อหน้าชายทั้งหลายที่อยู่เบื้องล่างบัญชาเธอ ถ้าไม่ได้ลำเอียงเกินไป อาจะกล่าวได้ว่าคุณแพท เหมาะกับบทนี้มาก ทั้งบทดราม่าหนัก การเบ่งพลังหงส์เหนือมังกรทั้งหมด เรื่องเสียงนั้นไม่ต้องเป็นห่วงคุณภาพสม่ำเสมอ ตัวละครก็เล่นลึก หากแต่ยังติดขัดตอน “แอ๊บเด็ก” ที่ดูขัดใจไปนิด แต่ก็ทำได้เยี่ยมครับ เพราะว่าถ้าเปรียบเทียบกราฟชีวิตของตัวละคร เราจะเห็นหลิวเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงอายุอย่างชัดเจนบนเวที







จางเหา – แบ๊งค์ แคลช
จางเหาผ่านชีวิตหนักๆ มามาก เป็นผู้ชายที่นิ่งๆ ซื่อๆ พูดน้อย จริงใจดูไม่มีพิษมีภัย แต่ด้วยความเงียบๆ นี่แหละคือคนที่คิดเยอะ และรอระเบิดทีเดียว จางเหาไม่ใช่คนชั่ว เชาฆ่าคนเพราะบุญคุณและความแค้นเท่านั้น บทนี้จึงเหมาะสมกับแบ๊งค์ใช่ย่อยอยู่เหมือนกัน เพราะแบ็งค์ก็ผ่านชีวิตมาหนักมาก เป็นผู้ชายที่ระเบิดอารมณ์ได้ดี หน้าตาก็ดูกตัญญูต่อผู้มีประคุณ และแววตาเขาก็ดูครุ่นคิดอะไรตลอดๆ
บทบาทของเขานั้นเรียกว่า เกินความคาดหมายของคนดู คือด้วยความลึกของการแสดง การใช้สีหน้า แววตานั้นผ่านฉลุย เป็นธรรมชาติ พลังในการร้องก็สู้กับแพทได้แบบไม่อายเลย ทำให้คู่นี้ไม่มีใคร drop กว่าใคร หากแต่ มีเสียงบ่นๆ ว่า เสียงของเขาที่ขึ้นจมูกนัเน เล่นเอาฟังไม่รู้เรื่องอยู่หลายประโยคเหมือนกัน

ตี๋เล็ก – โตโน
ตี๋เล็กไม่ใช่คนเลว เพียงแต่เป็นวันรุ่นที่ ใจ คำพูด และการกระทำ เป็นสิ่งเดียวกัน ไม่มี fake อะไรทั้งนั้น รักจริง เกลียดแรง และยิ่งมีทั้งอำนาจและบารมีของพ่ออยู่เบื้องหลัง อีกทั้งยังไม่มีใครปราม ทำให้ตี๋เล็กดูเป็นหนุ่มเลือดร้อน และดูจากประวัติของโตโน ที่ดูเป็นแบบนั้นไปครึ้งหนึ่งแล้ว ในเรื่องความตรงไปตรงมาของใจ อารมณ์และเหตุผล อีกทั้งโตโนเคยเป็นนักมวยมาก่อน ดังนั้นบทนี้ดูดีๆ ก็เหมาะสมกับเชาไม่น้อยนะ แต่ติดอยู่ 2 เรื่อง เรื่องการร้องที่ยังติดการร้องแบบ POP มาไปหน่อย และการแสดงก็ยังไม่ลึกมาก ซึ่งทั้งหารร้องและการแสดงนั้นไม่ใช่ไม่ดีนะครับ ก็เอาตัวรอดได้สบายน่ะ แต่ของแบบนั้มันต้องการประสบการณ์นะ โตโนอย่าเพิ่งท้อ อีก 2 เรื่องน่ะ ก็จะดีขึ้น (ปล. ตอนตี๋เล็กตาย มันสามารถทำให้ลึกได้กว่านี้นะ ถ้าหนุ่มอรรถกรเล่นป่านนี้คนคงรน้องไห้ในฉากนั้นมากโข)

ตี๋ซุ้ง- กลศ อัทธเสรี
โอย... ขานี้ไม่ต้องพูดถึง มืออาชีพ แต่เราว่า ตี๋ซุ่งเวอร์ชั่นนี้นิ่งไปหน่อย ถ้าเทียบกับ ซี้ซา และเต็งล้อนะน้องนั้นก็โอเคเลย

ตี๋ซา – ประสาท ทองอร่าม
ประหลาดใจ และดีใจเมื่อทราบว่า “ครูมืด” เรื่องนี้ ด้วยบทตี๋ซาจะโผงผาง ตรงไปตรงมา รักพวกพ้อง สิ่งที่ครูมือถ่ายทอดบนเวทีนั้นถือว่าสมเหตุสมผลครับ การร้องก็ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีครับ ตือเรื่องเดียวคือตอนที่ต่าย ครูมืดหายใจแรงและถี่ไป การนอนหงายตายทำให้เห็นท้องครูมืด พอกและยุบเป็นระยะๆ ตลอดดี ทำให้เสียสมาธิการชมละครไปมองดูท้องครูมืดพักนึง

เต็งล้อ – ญาณี ปราโมท
บุคคลคุณภาพของเมืองไทยคนนี้ไม่ต้องพูดถึง เหมาะสมกับบทบาทมาก แสดงได้ลึกและชัดเจน การร้องก็เน้นย้ำและเผยความรู้สึกตัวละครได้เยี่ยม จริงๆ แอบดูแคลนคุณญาณีไปนิดนึงตอนไปดู “เร่ขายฝัน” เพราะเรื่องนั้นได้รับบท “ตลก” แทบไม่ได้ใช้ความสามารถที่แท้จริง ทำให้การแสดงดู Drop ไป แต่เรื่องนี้เรียกว่ามาเต็ม ขอคาราวะครับ

นภาพร – นภาดา สุขกฤต
พอออกจากโรงละคร คนมักถามถึงว่า “เธอคือใคร” เพราะว่าเธอนั้นเรียกว่าเหนือของเหนือความคาดหมาย นภาพรเป็นเมียนักเลงนามตี๋ซุ้ง เป็นแม่ของหลิวและตี๋เล้ก ตามบทเหมือนเธอเป็นบทเล็กๆ แต่เปล่าเลยลนเวทีเธอเป็นนางเอกตัวจริงยิ่งกว่าแพทซะอีก และเป็นเธอเป็นจุดผลิกฟันของเรื่องเลย ในเรื่องเธอมีบทพูดน้อยนิด แต่ว่าเป็นจุดสำคัญของเรื่องทั้งหมด หากแต่เวลาที่เธอออกมา ผมแอบสังเกตุการแสดงของเธอ แม้ไม่มีบทพูด แต่เธออยุ่ในบทและแสดงออกมาได้เยี่ยมตลอด และที่ทำให้คนทึ่งสุดๆ คือการรองขแองเธอ ที่บอร์ดเวย์มากๆ ถ้าพุดตรงๆ แล้วไม่โกรธกัน เรื่องเสียง คุณแพทยังต้องเป็นรอง พูดกันจริงๆ คือ แพทคือหงส์หน้าฉาก แต่คุณนภาดาคือหงส์อีกตัวที่บนอยู่หลังฉาก
ปิติ – ทีม ภีรณัฏฐ์
ขอกล่าวถึงคนนี้หน่อย เพราะว่าเขาเคยเป็นนักร้องของ RS มาก่อน นามว่า “ทีม” (ร้อเพลงเพราะมากนะ เพลงเศษแก้วในกำมือไง ออกมา 2 อัลบั้มแล้วก็เงียบไป) โผล่มาอีกทีบนเวทีของซีเนริโอแล้ว การแสดงก็ถือว่าดีนะ การร้องถือว่ายังได้อีก ถ้าได้บทเด่นคงได้โชว์ของมากกว่านี้ แต่นี่ก็ถือว่าได้บทเด่นพอควนแล้วนะ สู้ๆ นะทีม

เสี่ยจั๊บ เสี่ยไฮ้ เสี่ยกวง
3 ตัวละครนี้เหมือนเป็นผู้บริหารของเทียนเล้ง ยิ่งคราวหลิวขึ้นนั่งเป็นหงส์เหนือมังกรแล้ว บทของ 3 คนยิ่งเด่นชัด แม้บทจะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่ว่าในเรื่อง3 ตัวละครนี้เสมือนภาพสะท้อนความคิดความอ่านของสมาชิกเทียนเล้งทั้งหมด นับว่าเป็นปากเสียงแทนหมู่มวลทุกคน

ป๋าเสริฐ – เทพธนะ ปานกะวงศ์ ณ อยุธยา
ตัวละครนี้ในบทประพันธ์คือคนวงการที่มีที่มั่งคั่งอิทธิพลพอๆ กับหลิวแห่งเทียนเล้ง... ถ้าใครเป็นคอละครค่ายนี้จะได้เห็นฝีมือของเขา เทพธนะ แทบทุกเรื่อง และก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง ปล. เรื่องนี้บทน้อยไปหน่อน ออกมาฉากเดียวมั้ง อ๋อๆ เล่นเป็นงิ้วตอนเปิดฉากอีก 1 ครั้ง

หมู่มวล
เข้าใจคำว่า Company ก็วันนี้ เพราะขาดคนใดคนหนึ่งบนเวทีไม่ได้เลย ทุกคนเล่นเต็มมาก และทุ่มทั้งชีวิตเพื่อละครเรื่องนี้ เราแอบเห็นมาม่าซัง แปลงร่างเป็นชายในฉากหลิวขึ้นบัลลังก์ และแปลงเป็นชาวบ้านสวมคอกระเช้าตอนโดยไล่ที่ อีกทั้งปลอมเป็นสาวหมวกเก๋มในยุคมาลานำไทย เรียกว่าวิ่งไปมาเหนื่อยกว่านักแสดงนำอีก รวมทั้งหมู่มวลชายทั้งหลาย ที่เดี๋ยวปลอมเป็นนักเลงบ้าง มือปืนบ้าง เจ้าพ่อบ้าง ชาวบ้านบ้าง คนงานก่อสร้างบ้าง โอย....เรียกว่า หมู่มวลต้องสุดๆ ทั้งร้อง ทั้งเต้น เล่นละคร นับถือหมู่มวลในเรื่องนี้ครับ
ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

"ไม้+ผ้า ผ้า+ไม้"
ฉากเรื่องนี้ ถ้าเทียบกับความฟู่ฟ่าอลังการนั้น เรื่องนี้ถือว่า drop ไปนะครับ ไอ้จะเห็นน้ำตกมิตาเกะ หรือบ้าน2ชั้นเหมือนแม่นาคนั้น ถือว่าคงเห็นไปได้ในเรื่องนี้ เพราะว่าเรื่องนี้มันไม่ได้เอสเคปมากเหมือนเรื่องอื่น มันคือเยาวราช คือบ้านเมืองไทยเมื่อ 50 ปีนี้เอง มันก็ต้องยึดหลักสมจริงสมจัง แต่นับๆ ฉากดูแล้วจำนวนฉากก็เยอะนะครับ และยิ่งเรื่องนี้เวลาแบ่งออกเป็น 2 กรอบ กรอบในกรอบนอกอุปกรณ์จุ๊กจิ๊กเลยเต็มไปหมด
Production design เรื่องนี้ก็ยังคงอยู่บนความสมริง บ้านเรือนจีนที่เป็นงานไม้ ผ้า และกระดาษเป็นส่วนใหญ่ ฉากต่างๆ เลยดูน้ำตายไปหมด ส่วนฉากที่นับว่าง่ายแต่สวยคือ “งานศพเต็งล้อ” ที่การมาของฉาก ช่างช็อคเหมือนกับจิตใจของหลิว และการเชื่อมระหว่างฉากงานและ “พิธีขึ้นบัลลังก์” นั้น ก็ให้อารมณ์และสื่อความหมายเชิงสัญญะที่ดี
พูดถึงสัญญะ เรื่องนี้มีการพูดเรื่องบิน สูง ทะเยอทะยาน ไขว่คว้า ตกต่ำ เบื้องล่าง ทำให้มีทางเดินลอยฟ้ากลางเวที ซึ้งช่วยเสริมพลังของเรื่องได้เป็นอย่างมาก
ฉากขึ้นบัลลังก์ คาดจะเห็นฉากนี้เป็น Production number ของเรื่องนี้ แต่โดยรวม ออกมาธรรมดา น้อยกว่าความคาดหวังไปนิด... ok ในบทประพันธ์บอกว่าพิธีนี้เรียบง่าย แต่เวทีทำออกมาได้อลังขนาดนี้ก็ถือว่าเจอกันครึ่งทางอย่างลงตัวแล้วล่ะ
ถ้าถามว่าฉากไหมประทับใจ ส่วนตัวชอบฉากไฟไหม้ครับ เพราะมันเป็นสถานการณ์ได้มันทันที ทุกอย่างลงตัว ควัน แสง ฉาก ดนตรี acting และไอ้ไม้ติดไฟนั่นก็ทำให้สะเทือนใจเข้าไปอีก

เพลง หลอนปัน หลองเลา หมั่นเล่โทโท้ จงโซย หนี่ปั๊ดเย่า
เพลงในเรื่องนี้ให้อารมณ์คล้ายหนังเจ้าพ่อ ฮ่องกงครับ คือให้ความรู้สึก ยิ่งใหญ่ จองหอง อำนาจ และแฝงด้วยเมโลดี้แบบเมโลดิก คือจำง่าย เข้าหู1 รอบจำได้เลย แล้วก็เมโลดี้สวยงาม และมีเครื่องดนตรีจีนเข้ามาผสมอยู่ตลอด ทำให้เพลงในเรื่องนี้อยนู่ในโทนเดียวกันทั้งเรื่องครับ
มีเพลงที่โดดๆ หน่อยก็คือเพลงของโตโน ที่ POP ซะมากมายก่ายกอง (ก็เข้าใจผู้ทำนะครับ ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทำออกมาก็เพรา และถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครได้ดีมาก)
เนื้อเพลงในเรื่องยังคงมาตรฐานฝีมืออันยอดเยี่ยมของคุณวิเชียร ตันติพิมลพันธ์ได้ไม่ตกหย่อนรับ เพราะทั้งคล้องจอง ฟังง่าย สื่อความหมาย ให้อารมณ์ แล้วยังคมให้แง่คิดอีก ยิ่งเพลง SOLO ของแต่ละคนนั้น สุดยอดแห่งความเข้าใจเขียน และใช้คำว่าโคตรเพราะได้ ทั้งเพลง วาสนา หนึ่งชีวิตไม่เสียดาย บินให้สูงเหนือคน ไม่เคยมีใครมารัก บุญคุณต้องทดแทนแค้นต้องชำระ หงส์เหนือมังกร เพื่อเหนืออะไร ไม่เคนมองข้ามเธอ นิยามคำว่าพอ และสำหรับเพลงที่ผมรักมากที่สุดคือ สุเอ๋ยสุรา ซึ่งเพราะมาก และพอมันบวกเข้ากับการแสดงบนเวทีแล้วเรียกว่าน้ำตาไหลเลย
เพลงที่พูดกันมากคือเพลงโน๊ตพิสดาร อย่างเพลงแทนคำร่ำลา และเสียงอย่างสูงเช่นเพลงหลุดพ้น ซึ่งผุ้ถ่ายทอดก้เซียนนะ ไปพอสูจน์ได้บนเวที และที่ประทับใจคนดูคือเพลง บทสุดท้าย ที่ทั้งผลิวร้องไว้ และจางเหาร้องเป้นคำถามตอนจบ อันนี้สุดยอดมาก
ที่มีตินิดหน่อยคือ เพลง สร้างให้สูง และ เมื่ออำนาจเปลี่ยนมือ... เข้าใจว่าด้วยผู้ประพันธ์ดนตรี คำร้อง และผู้กำกับเป็นคนๆ เดียวกันกับในเรื่องบัลลังเมฆ ฟ้าจรดทราย ทำให้วิธีการเล่าเรื่อง อารมณ์เพลงของทั้ง 2 เพลงที่กล่าวมา มันเป็นอารมณ์เดียวกัยเพลง เมื่อฟ้าเปลี่ยนสีของบัลลังก์เมฆ และเพลงกลียุคของฟ้าจรดทราย พิกล
อ้อ... ที่โดดเด่นและเป็นสไตล์ของมิวสิคัลค่ายนี้คือ การเอาให้ตัวละครสนทนา เถียง ตอยโต้ กันเป็นเพลง อันนี้ยังคงมีให้เห็น ทั้งเรื่อง ย้ำ ทั้งเรื่อง(เรื่องนี้ร้องเยอะมาก) และที่เด่นคือการใช้ YourSong(ภาษาละครเรียกอะไรไม่รู้น่ะ) ใช้เพลงแต่ละเพลงเป็ฯสัญลักษณ์ของอารมณ์ความรู้สึก มีการนำมาใช้ซ้ำในจังหวะและอารมณ์ที่ลงตัว อันนี้ถือว่าเป็นการขยี้ซีนอารมณ์ได้อย่างเด็ดขาด ตามสไตล์คุณบอย

"หงส์งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง"
เพราะความที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของเรื่องนี้มันเป็นยุคเมื่อ 50 ปีก่อน มันก็คือสิ่งที่เราอาจผ่านมาบ้าง มันทำให้กรอบการทำงานแคบลงไปเป็น การทำให้สมจริงและสวยงาม มันไม่สามารถที่จะวิจิตรเลิศเลอเวอร์หรูได้เท่ากินรีสีรุ้งหรอก ใครไปดูอาจจะผิดหวังเรื่องเครื่องแต่งกายบ้างที่ไม่อู่ฟู่หรูเวอร์ เพราะที่บนเวทีแต่งนั้น มันก็คับคล้ายกับที่เราเห็นตามท้องถนน ทว่าขอบอกว่าถ้าดูใกล้ๆ ผ้า รายละเอียดไม่ใช้ธรรมดานะแต่ละชุดน่ะ ขอบอก อ๋อ แล้วจำนวนเสื้อป้าเรื่องนี้ก็มากมาอยู่นะ เพราะตัวละครมากมาย ทั้งสาวบาร์ นักเลง หมู่เจ้าพ่อ ชาวบ้านสลัม ชุดกรรมกร และขอบอกว่า หมู่มวลก็เปลี่ยนเครื่องแต่งกายไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนด้วย ไม่เชื่อนับดูว่าเค้าเปลี่ยนกัน คนละกี่ชุด
ชุดที่คนคาดหวัง คือชุดที่หลิวใสขึ้นบัลลังก์ เป็นชุดทองปักหงส์ ซึ่งมองระยะไกลก็อลังการ มองระยะใกล้ก็งดงาม และเครื่องแต่งกายที่ถือว่าผิดหวังคือ ชุดของทองหัวหน้าสมาคมเทียนเล้งที่เต็งล้อใส่ เพราะเป้นแค้ผ้าทอง ปักดิ้นลายตารางหยาบๆ และไม่มีรายละเอียดอันส่งถึงอำนาจและบารมีของหัวหน้าสมาคมมังกรฟ้าเลย ซึ่งผมว่าพลาดนะจุดนี้

"มังกรร่ายรำ"
ปกติมิวสิคัลคุณบอยก็มักมี Dance Number ใหญ่ๆ อยุ่อย่างน้อยชุดหนึ่งในละคร ซึ่งเรื่องนี้ก็คงเป็นฉากตรุษจีนและโรงงิ้ว ซึ่งถือว่ายังเล็กมากจนคนดูอาจยังไม่ประทับใจกับการ Dance เต็มรูปแบบของละครเรื่องนี้ ซึ่ง............ ละครเรื่องนี้น่ะ เขาอาจไม่ได้ตั้งใจจะ Dance อะไรมากมาย แต่เขาใส่ Dance ลงไปในการแสดงต่างหากเล่า จนกลายเป็น Movement สวยๆ บนเวที เช่นฉากการต่อสู้ที่เอาท่าต่อสู้จริงที่ดูดัน สมจริง มาประกอบกับระบำให้ดูต่อเนื่องลื่นไหล ใหญ่โต ชัดเจน ซึ่งถือว่าคุณครูโจทำออกมาได้เจิดมาก คือมันลื่นและดีซะจนคนดูคิดว่ามทันเป็นท่าง่ายๆ เลยอ่ะ
อีกอย่างหนึ่งสังเกตแล้วชอบมาก การต่อสู่ของจางเหา แอบเอาการเต้นแบบ B Boy มาใส่เป็น MoveMent การต่อสู้ด้วย ซึ่ง OK มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ลองสังเกตดูนะครับ


ปล. รอบที่ผมไปดู มีโตโน่แฟนคลับมาดูกันเยอะมาก นั่งอยู่กันเป็นก๊กเหล่า รอบนั้นมีคนที่เด่นดังสุดก็คือ น้องแฟร้งกี้.... ที่คาดผมและดอกไม้ปลอมบนหัวมาแต่ไกล
เลยขอถ่ายรูปซะหน่อย







"บทสรุป"
ละครเรื่องนี้เป็นละครที่มีแก่นลึกซึ้งนะครับ และนำเสนออกมาได้คมคาย โดยมีความบันเทิงเคลือบอยุ่ภายนอกอย่างหอมหวาน หากใครตั้งใจมาเสพความบันเทิงก็เชิญครับ รับรองไม้ผิดหวัง หากแต่จะมาเสพงานศิลป์ดีดีสักครั้งก็เชิญนะครับ มาแง่คิดต่างๆ ให้เก็บเกี่ยวไป ทุกสิ่งอยู่ในระดับมาตรฐานทั้งเพลงที่เพราะ ฉากสวยงาม เทคนิคพิเศษต่างๆที่สมจริง และโรงละครเมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ที่ช่างได้มาตรฐาน นักแสดงที่คุณภาพคับล้นเวทีทั้งเสียงร้อง ความสามารถ ความตั้งใจ และหากวัดที่ตัวเงิน เรื่องนี้ถือว่าคุ้มค่าครับ ควรไปดูครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)