เรื่องย่อ “เลือดขัตติยา เดอะมิวสิคัล” : จากมุมมองของผม หลังชม ( #MorragetMusical )


ก้าวสู่ ดินแดน “เลือดขัตติยา”
(Part นี้ผมเขียนเรื่องย่อ จากละครเวทีในมุมมองของผม หากใครอยากข้ามไปก็ได้เลยนะครับ)

สปอยแหลกกกก  !!!!!

             เรื่องราวของเลือดขัตติยา เกิดขึ้นใน 5 รัฐ (ที่บทประพันธ์ระบุว่าอยู่ในเอเชียกลาง) รัฐทั้ง 5 อยู่ระหว่างการจัดตั้ง “สมาพันธรัฐ” ( คล้ายๆ รวม AEC นั่นแหละ”) เรื่องราว Focus ที่ 2 รัฐยิ่งใหญ่ เสมือนเสือ “2ตัว” ที่ทั้งเก่ง ทั้งแกร่ง ต่างก็แย่งกันเป็นจ่าฝูง แต่ทั้งสองเป็น 1 คนละอย่าง  “ยโสธร”  อาณาจักรที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ปลูกอะไรก็ขึ้น มีการค้า ร่ำรวยจากเพาะปลูกเมื่อบ้านเมืองสงบสุข ผู้คนก็เลย “ศิวิไลซ์” มีวัฒนธรรม มีประเพณี มีความสุข ผิดกับ “เขมรัฐ” ดินแดนเก่าแก่ประกอบด้วยเขาสูง ป่าทึบ แต่แห้งแล้ง แล้วแค้น แต่กลับอุดมไปด้วยแร่เหล็กและโลหะ เมื่อบ้านเมืองกันดาร ชาวเขมรัฐจึงค่อนข้างแข็งกร้า ทะเยอทะยานเอาตัวรอด และมีความเป็นนักรบสูงเพราะต้องปากกัดตีนถีบอยู่ตลอดเวลา... ซึ่งโดยหลักๆ เนื้อราวจะเกิดขึ้นใน 2 รัฐนี้นั่นเอง
           

เล่าให้แคบลงอีก เอาแบบโฟกัสไปเลย เมื่อเรื่องราวเล่าสู่ก้าวใหม่ ของทั้ง 5 รัฐ ถึงคราวต้องมีคนรุ่นใหม่ขึ้นมาปกครอง โดยเริ่มต้นที่การหาผู้นำตัวแทนรัฐรุ่นใหม่มาแถลงนโยบาย เพื่อเปิดโหวตเลือกผู้นำสหพันธรัฐ  ทาง “ยโสธร” เลือกส่ง “เจ้าฟ้าชายสิทธิประวัติ” (อาร์ม KPN) รัชทายาทอันดับ 1 ผู้ซึ่งอ่อนหวาน  ขี้โรค และเหยาะแหละ  ผิดกับ “เขมรัฐ” ที่ส่ง “เจ้าฟ้าชายไชยยันต์” (อาร์ เดอะสตาร์) ที่เป็นนักรบเต็มขั้น แข็งกร้าว มุทะลุ ทะเยอทะยาน  ผู้ซึ่งอยากเคลมดินแดนยโสธรอันอุดมสมบูรณ์ด้วยนี่สิ ยิ่งน่ากลัวไปกันใหญ่  มองเท่านี้ อาจจะเห็นว่าทางยโสธรเป็นรอง แต่เปล่าเลย เพราะ มี “อโณทัย” (แกงส้ม) นายทายผู้แข็งแกร่ง ฉลาด และรอบรู้ เป็นพระพี่เลี้ยงให้กับเจ้าฟ้าชายสิทธิประวัติทั้งเชิงรบ และวิชาการ

โฟกัสให้แคบลงมาหน่อย ในเมืองยโสธรเอง  ที่เห็นว่าสงบสุข เจริญรุ่งเรือง ใช่ว่าในบ้านจะสงบนะจ๊ะ เพราะคลื่นใต้น้ำกระเพื่อนแรงเชียว… เพราะ “พระองค์เจ้านันทวดี” (รัดเกล้า) ผู้ซึ่งเคยครองบัลลังก์ราชินีมาก่อน ยังคงไฝ่หาถึงความหอมหวลแห่งราชบังลังก์​จึงเสี้ยมสอนให้ ลูกสาว “เจ้าฟ้าหญิงแขไขจรัส”(แก้ม) รัชทายาทอันดับ 2 ไฝ่สูงและมองไกลเข้าไว้ โดยเฝ้าฝึกปรืออาวุธประจำตัว ด้วยการใช้ “ความสวย เล่ห์​ และจริตมารยา” ให้ได้มาในสิ่งที่ตนต้องการ  ในอีกทางหนึ่ง “พระองค์เจ้านันทวดี”(นนทิยา) อดีตราชินีที่ตอนนี้อยู่ท้ายตาราง ที่ยังต้องการกลับไปยืนอยู่แถวหน้าอีกครั้ง จึงพยายามผลัก และดัน “เจ้าฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ดารากุมารี” (หนูนา) โดยฝึกฝนให้เก่งกาจ ด้วย “ความรู้ สติ และปัญญา”

อ่ะ เอาให้แคบลงมาอีกนิดนึง “เจ้าฟ้าหญิงทิพย์รัตน์ดารากุมารี” (หนูนา) ที่ทรงเบื่อมั่กๆ กับการบังคับ และความคาดหวังของแม่ ก็อยากจะหนีเสียให้พ้นๆ จากวังแห่งนี้ที่น่าอึดอัดไม่ต่างจากคุก โดยจากหน้าต่างวัง นางจะเห็นเกาะเล็กๆ กลางน้ำที่อุดมสมบูรณ์และสงบ นางจึงอยากจะไปที่นั่นสักครั้ง วังหนึ่งนางก็หนีไปเที่ยวได้สำเร็จ แต่แล้วนางก็พายเรือเข้าไปในน้ำวน จนเรือที่ตนพายมาแตก และตนเองจมน้ำ  โชคยังดีที่มีเด็กชายผู้แข็งแรงคนหนึ่งช่วยหล่อนไว้ ( อโณทัย :​แกงส้ม นั่นแหละ) ฟ้าหญิงดาราให้แหวนวงหนึ่งกับ อโณทัยเป็นการขอบคุณ อโณทัยก็สวยไว้ที่นิ้วนางข้างซ้าย  ฟ้าหญิงดาราเกรงว่าอีกฝ่ายจะรู้ว่าตนเป็นใคร จึงปิดบังฐานะ โดยโกหกว่านางเป็นเพียง “ดารา” หญิงสาวชาวบ้านคนหนึ่งเท่านั้น

นับจากนั้น ทั้งสองก็สนิท สนม และรักใคร่กัน โดยมีเกาะกลางน้ำเป็นสถานที่นัดพบ  ดอกหญ้าที่ขึ้นเต็มเกาะนั้น เป็นตัวแทนของอโณทัย และ ดาราก็รักดอกหญ้ามากเช่นกัน  และที่ “สมพงษ์” กว่านั้นคือ “ท่านราชครู” ผู้สั่งสอนหญิงดาราให้มีความรู้ด้านการปกครองนั้น คือ “พ่อ” ของอโณทัย นั่นเอง

เล่ากลับมาภาพกว้าง...​ความสุขวัยเด็กก็จบลง สู่ความโลกความจริง...“เจ้าฟ้าชายสิทธิประวัติ” (อาร์ม KPN) เกิดหลงรัก “หญิงดารา” หญิงดารากลับรัก “อโณทัย”  อโณทัย เมื่อวันหนึ่งรู้ว่าหญิงดาราเป็นใคร ด้วยความรักที่รักมาก จึงไม่กล้าดึงดาราลงต่ำ ขอยกดาราเอาไว้ในที่สูงที่สุด เท่าที่ตนจะทำได้ และวางแผนทุกอย่างให้หญิงดารา ได้ครองบัลลังก์ ยโสธร ที่ที่สูงที่สุดในแผ่นดิน  แต่การทำอย่างนั้นของอโณทัย ยิ่งทำให้หญิงดารายิ่งคับข้องใจ “ว่านี่หรือ คือสิ่งที่คนรักทำให้กัน ผลักไสให้เป็นนั่นเป็นนี่ โดยไม่ถามสักคำ”  ท่ามกลางความวายป่วงเท่านี้ ยังไม่พอสำหรับเลือดขัตติยา เพราะว่ายังเหลือ คุณแม่นันทวดี(รัดเกล้า) ที่ยุยงจับ หญิงแขไข(แก้ม) ให้แก่ ชายไชยยันต์(อาร์) เพื่อนางต้องการเป็นราชินีแห่งเขมรัฐที่ร่ำรวย และนางก็หวังจะเคลม ยโสธรด้วย (เพราะนางยังถือตำแหน่งรัชทายาทอันดับ2) อย่างไรก็ตาม...สิ่งที่ ชายไชยยันต์(อาร์) ต้องการไม่ใช่หญิงแขไข แต่เป็นบัลลังก์ของยโสธรเช่นกัน  เมื่อมีเป้าหมายร่วมกัน นันทวดี(รัดเกล้า), แขไข(แก้ม) จึงทรยาทหักหลังแผ่นดินตัวเอง​( โดยมีเจ้ากรมคลัง ผู้โลภมาก เป็นหนอน... คอยเอาความลับยโสธรมาบอก) และนางทั้ง2 ก็มักเอาความลับต่างๆ นี้ ไปบอกต่อ  ชายไชยยันต์(อาร์) เพื่อวางแผนทำลายแผ่นดินยโสธรอีกที

เรื่องมันเกิดจุดที่จะกลับไปเหมือนเดิม นั่นคือ ชายสิทธิประวัติ(อาร์ม) รู้ความจริงว่า ทั้งอโณทัย(แกงส้ม) และหญิงดารา(หนูนา) รักกัน  และเขาเองนั่นแหละที่เป็นตัวกลางขวางความรัก ของคนที่เขารักทั้ง2 ไว้  ด้วยความเสียใจ ชายไชยยันต์ล้มป่วยลง แต่ใกล้ถึงเวลาที่แต่ละรัฐจะต้องแถลงนโยบายต่อที่ประชุม สมาพันธรัฐแล้ว  จังหวะนี้แหละที่อโณทัย ที่ได้เลื่อนเป็น “ผู้บัญชาการทหาร” ก็เสนอให้ ชายสิทธิประวัติ “เษก” กับ หญิงดารา เพื่อให้ดาราได้เป็นราชินี และเป็นตัวแทนกล่าวในนามยโสธรได้อย่างสมศักดิ์ศรี   ด้วยการเตรียมแผนการด้านการเมือง การฑูต และจิตวิทยาของ อโณทัย ที่ฝึกปรือหญิงดาราเป็นอย่างดี จนทำให้นางได้รับการยอมรับในการแถลงนโยบาย และถูกเลือกให้เป็น “ผู้นำ” ของสมาพันธรัฐ  ในที่สุด

เมื่อตำแหน่งผู้นำสมาพันธรัฐ ตกไปแก่ผู้หญิง ของรัฐคู่แข่ง ชายไชยยันต์ ชายชาตินักรบผู้ทะนงย่อมจะยอมไม่ได้ จึงวางแผนที่จะกำจัดหญิงดาราเสียให้สิ้นไป... พอเหมาะกับที่ ชายสิทธิประวัติ(อาร์ม) สิ้นพระชนม์พอดี  “หนอน” เลยทำหน้าที่ หญิงแขไข  และ เจ้านันทวดี ก็ลอบเอากำหนดการราชพิธีพระศพจาก เจ้ากรมกลาโหม และวางแผนร่วมกับไชยยันต์ รอบ “ฆ่า” หญิงดารา อโณทัยรู้เรื่องทั้งหมด จึงซ้อนแผน แม้จะให้มีพระราชพิธีพระศพตามเดิม แต่หญิงดาราที่เดินร่วมในขบวนนั้นเป็น “ตัวปลอม” ที่อโณทัย เมื่อนักฆ่าของชายไชยยันต์ลงมือจึงไม่สำเร็จ  อโณทัยตามล่าคนร้ายไป จนเจอชายไชยยันต์คุยกับคนร้ายเรื่องแผนที่ไม่สำเร็จ และลงมือฆ่าคนร้ายปิดปาก อโณทัยเร่งจับกุมชายไชยยันต์ แต่เมื่อมีคนมาพบ เจ้าชายแห่งเขมรัฐกลับให้การว่า “อโณทัยพยายามจะฆ่าตน”   เรื่องราวทั้งหมด ทั้งคดี “หญิงดาราถูกลอบฆ่า” และ “อโณทัยที่พยายามฆ่าชายไชยยันต์” สั่นคลอนถึงสมาพันธรัฐที่เพิ่มก่อตั้งขึ้น และเพื่อความเป็นธรรมเรื่องทั้งหมดจึงต้องได้รับการไต่สวนในศาลที่มีตัวแทนจากทุกรัฐ เขาร่วมรับฟังพิจารณาคดี โดยผู้เป็นประธานในการตัดสินคือ “หญิงดารา”

“หญิงดาราถูกลอบฆ่า” อโณทัยให้การต่อศาล ว่าทราบถึงกรณีที่  เจ้ากรมคลัง เป็นกบฏต่อยโสธรโดยนำราย ละเอียดเรื่องพระราชพิธีไปบอกแก่นักฆ่า หลักฐานคือกำหนดการพระราชพิธีที่ทำเครื่องหมายลับไว้ จึงสืบรู้ได้โดยงานว่าเป็นของเจ้ากรมวัง  อโณทัยพยามแค้นให้เจ้ากรมฯ สารภาพมาว่าใครเป็นผู้จ้างวาน  จนยอมสารภาพว่า “ชายไชยยันต์ หญิงแขไข และ เจ้าอนันทวดี” เป็นผู้จ้างวาน  เมื่อได้ยินดังนั้นทั้งสามมิได้สะท้อนสะท้านนัก และกล่าวว่า เป็นการให้การของฝ่ายยโสธรฝ่ายเดียว ไชยยันต์จึงเข้าแผนเพื่อจะดิสเครดิตทั้งอโณทัยและหญิงดารา โดยนำ​ “จดหมายรัก” ที่อโณทัย เคยเขียนให้ “ดารา” (ที่ให้คนไปขโมยจากห้องนอนหญิงดารา) มาเปิดเผยกลางที่ประชุม (จริงๆไชยยันต์รู้มาตลอดว่า มีอะไรๆ ในกอไผ่ ระหว่างดารา และอโณทัย) แต่เก็บความเรื่องนี้ไว้เป็นไพ่ในเกมส์การต่อรองในอนาต และเขาก็ได้ใช้แล้ววันนี้  และกล่าวหาทั้งคู่เข้าไปอีกว่า  อโณทัย และ ดารา มีแผนร้าย รักกัน และต้องการครอบครอง “สมาพันธรัฐ”
                                                                    
เมื่อที่ประชุมได้ทราบถึงความสัมพันธ์ และประเด็นที่ชายไชยยันต์กล่าวหา ก็คล้อยตาม ยังไม่ทันทีหญิงดาราจะได้กล่าวอะไร  ด้วยความรักอย่างที่สุด รักอย่างที่ไม่ยอมให้คนที่รักต้องมามัวหมอง อโณทัยก็ออกมายอมรับมา จดหมายฉบับนั้น เป็นของตนจริงๆ  แต่จดหมายนั้นเป็นเพียงจดหมายที่ตน บังอาจคิดเกินเลยต่อราชินี  และให้การต่อไปว่า​ “ความรักของเขาเป็นรักข้างเดียว ราชินีไม่เคยมีใจให้เขาเลย” และเสนอโทษสำหรับตัวเองที่ดึงฟ้าลงต่ำ คือการขอให้​ “ประหารชีวิตตนเสีย”
เมื่อเป็นดังนี้ ที่ประชุมจึงได้คลายความสงสัยในตัวหญิงดาราลงไป

ท้ายที่สุด ถึงเวลาที่ “ขัตติยา” ในฐานะผู้นำสมาพันธรัฐ จะต้องตัดสิน... หญิงดาราตัดสินคดี โดยเริ่มต้นที่ เจ้ากรมคลัง ให้ถอดยศ ริมทรัพย์ และเนรเทศออกนอกแผ่นดินยโสธร,  พระองค์เจ้านันทวดี หญิงแขไขจรัส ให้ถอดพระยศ และเนรเทศออกนอกแผ่นดินยโสธร, เจ้าฟ้าชายไชยยันต์ ตัดสินให้จองจำอยู่ ในแผ่นดิน ยโสธรในฐานะนักโทษการเมืองตลอดชีวิตพร้อมทั้งทางเขมรัฐต้องส่งส่วยและบรรณาการตลอดระยะเวลาที่เจ้าฟ้า
ชายถูกจองจำ หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษตามกฏสูงสุดของสมาพันธรัฐ  ท้ายที่สุด “อาโณทัย”  มีความผิดโทษฐานอาจเอื้อม หมิ่นเกียรติขัตติยะแห่งยโสธร ผิดอาญาขั้นร้ายแรง ตัดสินลงโทษให้ “ประหารชีวิต”

อโณทัยถูกกักขังไว้ในคุกมือ รอคอบการลงโทษ  เจ้ากรมกลาโหมได้แอบมาพบชายหนุ่มในวันหนึ่ง อโณทัยมีคำข้อสุดท้ายนั่นคือ ในวันที่มีการแต่งตั้ง “หญิงดารา” เป็นผู้นำสมาพันธรัฐอย่างเป็นทางการ เมื่อธงของยโสธรได้รับการชักขึ้นสูง ก็ให้ประหารเขาได้หลังจากนั้นทันที และขอให้วางแหวนที่อยู่ติดกับ นิ้วนางข้างซ้านของเขา วางทาบที่หัวใจ เจ้ากรมกลาโหมรับคำ และลาออกไป  ไม่ช้าก็มีบุคคลหนึ่งเขามาใหม่ เมื่อเปิดผ้าคลุมก็พบว่าเป็นหญิงดารา  เธอมาอ้อนวอนให้ชายหนุ่มหนีไป และมีชีวิตอยู่เพื่อเธอ  แต่ชายหนุ่มกลับยืนยันว่า เขาจะตายเพื่อเธอ เขาจะทำให้ทุกคนยอมรับในตัวเธอว่า คนแรกที่เธอสังประหาร คือคนที่เคยรู้จักและสนิทสนมใกล้ตัวกันมานานยังไม่พ้นความผิดขั้นประหาร และในภายหน้าก็คงไม่มีใครสงสัย และยอมรับในการเป็นผู้นำของหญิงดาราในทุกกรณี  ทั้งคู่ได้กอดลากันครั้งสุดท้าย ก่อนจะจากกันตลอดกาล

ในวันที่หน้าปิติยินดี เป็นวันที่หญิงดาราได้รับการแต่งตั้งให้นั่งบัลลังก์ที่สูงที่สุดในสมาพันธรัฐ และเวทีที่หญิงดาราไม่อยากให้มาถึง ก็มาถึง เมื่อธงของยโสธรถูกชักขึ้นสูง  เสียงดังสนั่นเสียงหนึ่งก็ดังขึ้น... เธอรู้ทันทีว่า หญิงชีวิตที่เธอรัก ได้แตกดับไปแล้ว

ณ เกาะกลางนั้น มีเสียงเป่าไม่ได้แว่วมาเบาๆ แว่วมาตามลม  ที่พื้นที่ใต้ต้นไม้ ปรากฏเนินดินเล็กๆ เพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน รอบๆ เนินนั้นมีดอกไม้บานสะพรั่ง หญิงดาราได้วางดอกหญ้าดอกหญิงบนเนินดิน นั้นอย่างทะนุถนอม ท้องฟ้าในยามนี้ เริ่มเปลี่ยนจากค่ำคืน สู่วันใหม่ นี่คงเป็นห้วงสั้น เวลาเดียวเท่านั้นที่พระอาทิตย์ และดวงดาว อยู่ร่วมฟ้าเดียวกันได้ ... “ทุกรุ่งอรุณ ของเรา”


ความคิดเห็น

  1. เขียนได้ทีมากครับ ผมไม่ได้มีโอกาสดูละครเวทีเรื่องนี้แต่ผมเข้าใจทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะบทความนี้

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เรื่องย่อ “Frozen” (Disney's) โฟรเซ่น - ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ” : จากมุมมองของผม หลังชม (review)

สไปร์ท ฮอร์โมน : ซ่าๆ ใสๆ (กินสไปร์ท ต้องใส่ถุง) : (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)

เต้ย ฮอร์โมน : ตำนานแห่งดอกกุหลาบที่ถูกสาป (Hormones วัยว้าวุ่น เดอะซีรีย์)